07Oct, 2020
ภาษา :
Thai
Share blog : 
07 October, 2020
Thai

Build a product that people love สร้างโปรดักต์ยังไงให้คนรัก

By

10 mins read
Build a product that people love สร้างโปรดักต์ยังไงให้คนรัก

การสร้างผลิตภัณฑ์ (Product) หรือในทางธุรกิจอาจเรียกรวมกันว่า สินค้าและบริการ ขึ้นมาสักอย่างเป็นสิ่งที่ยาก แต่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นยากกว่า...

ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวงการ Startup หรือ Agency หรือบริษัทใหญ่ ผู้บริหารมักจะต้องการทั้ง 3 สิ่งอย่างคือ

  • Good - ผลิตภัณฑ์ที่ดี
  • Cheap - ต้นทุนถูก
  • Fast - ความเร็วในการพัฒนา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เราสามารถเลือกที่จะโฟกัสได้เพียงแค่ 2 อย่างเท่านั้น 

  • ถ้าอยากได้ (Good ผลิตภัณฑ์ที่ดี) + (Cheap ต้นทุนถูก) คุณจะไม่ได้ (Fast ความเร็วในการพัฒนา)
  • ถ้าอยากได้ (Fast ความเร็วในการพัฒนา) + (Good ผลิตภัณฑ์ที่ดี) คุณจะไม่ได้ (Cheap ต้นทุนถูก)
  • ถ้าอยากได้ (Cheap ต้นทุนถูก) + (Fast ความเร็วในการพัฒนา) คุณจะไม่ได้ (Good ผลิตภัณฑ์ที่ดี)

สุดท้ายผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตัวคุณเอง

คุณไม่สามารถมีทุกอย่างพร้อมกันได้

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิด Lean startup ขึ้นมา เพราะว่าการทำผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมนั้นใช้ระยะเวลานาน และได้ Value กลับมาน้อย จนกระทั่ง Eric Ries ได้เสนอแนวคิดของการทำ Minimum Viable Product (MVP) ขึ้นมา

โดยส่วนใหญ่ สิ่งที่ได้กลับมาจากการทำ MVP คือ เราจะได้ Cheap + Fast ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะไม่ค่อยมีคุณภาพ และเราเองก็ไม่สามารถรู้ได้ว่ามันจะออกมาดีตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ เราอาจจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้แต่คุณภาพยังดีไม่มากพอ (Second rate experience) ดังนั้น การทำ MVP นี้อาจทำให้เราพลาดโอกาสที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้

คนทั่วไปมักจะนำคำว่า Minimum มาใช้อย่างตรงไปตรงมา โดยการตัดทั้งดีไซน์และฟีเจอร์ออกไป แทนที่จะมองว่าการเติมรายละเอียดเหล่านั้นเป็นการลงทุนเพื่อให้ลูกค้าที่ใช้งานเกิดความประทับใจ หรือมองมันเป็นส่วนหนึ่งในงบของการทำการตลาดที่ต้องลงทุนก่อนการปล่อยผลิตภัณฑ์นั้นออกสู่ตลาด แต่ทว่าก็ยังมีหลายบริษัทชั้นนำ เช่น Apple, Nest, AirBnB ที่ให้ความสำคัญกับการดีไซน์มากกว่าสิ่งอื่น และแสดงให้เราเห็นว่าพวกเขาสามารถตั้งราคาเริ่มต้นได้สูงกว่าคู่แข่งโดยการให้ความใส่ใจกับการทำดีไซน์เป็นสิ่งแรก

Ryan Singer ได้สรุปเรื่องนี้ไว้ได้เป็นอย่างดีว่า

“If you decide to build a feature you should live up to at least a basic standard of execution on the experience side.”

หากคุณตัดสินใจจะสร้างฟีเจอร์หนึ่งขึ้นมา อย่างน้อยที่สุดที่ควรทำคือทำให้ฟีเจอร์นั้นมี UX ที่ได้มาตรฐานเท่ากับคนอื่น ๆ โลกของเรามีการแข่งขันสูง ผู้คนให้ความสนใจได้แค่ระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น คุณอาจจะมีโอกาสเพียงครั้งเดียว ดังนั้น ต้องรีบคว้าไว้ อย่าปล่อยให้มันหลุดมือไป

So long MVP, hello MLP

ถ้า MVP เป็นแนวคิดที่เก่าไปสำหรับยุคใหม่ ที่ผู้คนให้ความสนใจกับการออกแบบมากขึ้น เราจะเอาอะไรมาใช้แทนได้บ้าง...

Minimum Loveable Product (MLP) อาจเป็นคำตอบที่ใช่

MLP

หากเปรียบเทียบระหว่าง MVP กับ MLP แล้ว เราคงนิยามได้ว่า

MVP - เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่เน้นการเรียนรู้ลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยใช้ความพยายามให้น้อยที่สุด

MLP - เป็นการทำผลิตภัณฑ์ที่เน้นให้คนรักมากที่สุด โดยใช้ความพยายามให้น้อยที่สุด

Y Combinator

“It’s better to build something that a small number of users love than a large number of users like.”

Sam Altman, Y Combinator

ยกตัวอย่างกรณีการทำธุรกิจเค้ก ถ้าเป็นการทำ MVP กระบวนการจะเน้นไปที่การตรวจสอบว่ามีกลุ่มคนที่ชอบกินเค้กอยู่ในตลาดหรือไม่ ต่างจาก MLP ที่จะเน้นการตรวจสอบ สร้างความมั่นใจว่าคนกลุ่มนี้จะต้องพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ แล้วกลับมาซื้ออีก หรืออาจจะเอาไปบอกต่อเพื่อน คนรู้จัก และเนื่องจากคุณเริ่มต้นจากการทำ MVP ทำให้คุณเองยังมีช่องว่างในการปรับเปลี่ยนไอเดียได้อีก ส่วน MLP จะทำให้คุณได้กลุ่มผู้ติดตามระหว่างที่คุณกำลังเปิดหาโอกาสอยู่

(Photo reference: medium.com)

10 ทิปเปลี่ยนจาก viable เป็น loveable

1. Give it a point 

บ่อยครั้งที่หลายคนมักจะโฟกัสกับวิธีการสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาโดยลืมคิดไปว่าทำไมถึงต้องสร้างสิ่งเหล่านั้น การไม่มีจุดมุ่งหมายในการทำผลิตภัณฑ์มาช่วยในการตัดสินใจทำให้กระบวนการใช้เวลานานและเลื่อนลอย เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาคุณจะไม่มีแรงผลักดันในการพาทีมผ่านปัญหานั้นไปได้ การมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนจะช่วยทำให้การทำงานของคุณมีความหมาย

Simon Sinek นักเขียนและนักพูดชาวอังกฤษ-อเมริกัน ได้กล่าวไว้ว่า คุณจะต้องกระตุ้นลูกค้ากลุ่มแรกให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกอะไรบางอย่าง เพราะการตัดสินใจซื้อของส่วนมากเกิดจากความรู้สึกมากกว่าการใช้ความคิด การโฟกัสที่คำว่า Why? จะช่วยให้คุณเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้ากับผลิตภัณฑ์ที่เราเสนอ และยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้ดีขึ้น

Give it a point 



Simon Sinek’s Golden Circle framework: “People don’t buy what you do, they buy why you do it”

(Photo reference: medium.com)

2. Do one thing well 

หากจะพูดถึงข้อผิดพลาดที่ ฆtartup หลาย ๆ ที่เจอมา ข้อแรกคือ การพยายามทำงานหลายอย่างมากเกินไป ดังนั้น การที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนจะทำให้คุณสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้ว่าผลิตภัณฑ์คุณสร้างมาเพื่ออะไร และเพื่อใคร ตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่เห็นได้ชัดคือ Dropbox และ Instagram

Jason Fried (Co-founder ของ Basecamp) เคยอธิบายวิธีการคิดไว้ในหนังสือ Getting Real ว่า

“If you can’t fit everything in within the time and budget allotted then don’t expand the time and budget. instead, pull back the scope.”

หากคุณไม่สามารถรวมทุกอย่างไว้ภายใต้เวลาและงบประมาณที่จำกัด อย่าใช้วิธีการเพิ่มเวลา หรืองบประมาณ แต่ให้ลด scope ของงานแทน อาจฟังดูเหมือนง่าย แต่จริงแล้วมันไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะสาเหตุหลักมักจะมาจากแรงกดดันจากลูกค้า ผู้ลงทุน หรือเพื่อนร่วมทีมคนอื่น ๆ คุณต้องเรียนรู้ที่จะปฏิเสธถ้าหากคุณต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้จริง ถ้าเริ่มต้นให้ถูกแล้วการทำงานจะง่ายขึ้นอีกมาก

อีกสิ่งที่สามารถทำได้ คือการสร้างลิสต์สิ่งที่เป็น 'Won’t do' ขึ้นมา การสร้างสิ่งเหล่านี้จะทำให้ทุกคนมีไอเดียตรงกัน ทำให้การตัดสินใจง่ายขึ้น และไม่หลุดโฟกัสจากสิ่งที่จำเป็น

3. Timebox it

การไม่เรียงลำดับความสำคัญของงานจะทำให้เกิดปัญหาให้อนาคตได้ เพราะเมื่อมีการลดเวลาและงบประมาณลง คุณเองก็จะต้องลด scope ของงาน

4. Solve only high-value problems

ในการตัดสินใจว่าผลิตภัณฑ์ที่เตรียมปล่อยออกสู่ตลาดควรจะมีฟีเจอร์อะไรบ้างนั้น ให้เราลงรายละเอียดกับปัญหาที่เป็น pain point ของพวกเขา แน่นอนว่าการที่เราสามารถแก้ไขทุกปัญหาให้ลูกค้าได้เป็นเรื่องที่ดี แต่หากทำแบบนั้นคุณจะไม่ได้ผลิตภัณฑ์ที่เรียบง่ายออกมา ดังนั้นเราจึงควรโฟกัสกับการแก้ไขปัญหาที่เป็น pain point ของลูกค้าก่อน นอกจากนั้นการใช้ Value Proposition Canvas สามารถช่วยในการตัดสินใจเลือกฟีเจอร์ที่สร้าง Value จริง ๆ ให้กับผลิตภัณฑ์ได้

5. Add surprise & Delight

สร้างผลตอบรับที่ดีจากลูกค้าคุณโดยการทำให้มากกว่าที่สิ่งที่ควรจะเป็น นอกจากความต้องการขั้นพื้นฐานที่เราตอบสนองให้ลูกค้าได้ การทำให้พวกเขาเกิดความประทับใจโดยที่ไม่ได้คาดหวังไว้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า เช่น ห้องพักโรงแรมได้จัดเตรียมแชมเปญและช็อกโกแลตให้กับคู่รักที่มาฮันนีมูน

6. Put your money where your mouth is

“Design is not just what it looks like and feels like, design is how it works.” Steve Jobs ได้กล่าวเอาไว้ และนอกจากนั้น เราได้รับการพิสูจน์ว่า UX ที่ดี กับ Brand loyalty นั้นมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน ลูกค้าที่มีความพึงพอใจกับการใช้สินค้ามักจะมีแนวโน้มที่จะกลับมาบริโภคอีกครั้ง ใช้จ่ายมากขึ้น และบอกต่อคนอื่นมากกว่า ดังนั้น การจ้างนักออกแบบที่ดีที่สุดเท่าที่คุณสามารถหาได้ อาจจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดก็เป็นได้

7. Make’em hungry for more

สิ่งที่ยากที่สุด คือการทำให้ลูกค้ากลับมาใช้สินค้าของคุณอยู่เรื่อย ๆ ถึงแม้คุณจะทำให้พวกเขาสนใจผลิตภัณฑ์ของคุณได้ แต่คุณก็ต้องคิดต่อว่าจะทำยังไงให้พวกเขากลับมาใช้สินค้าของคุณจนกลายเป็นลูกค้าประจำ

Nir Eyal’s Hook Model ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริษัทสามารถนำ 4 ขั้นตอนนี้ไปสร้างนิสัยการใช้งานสินค้าของลูกค้าได้ ดังนี้



(Photo reference: medium.com)

Trigger

Trigger เป็นตัวกระตุ้นการกระทำ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ประเภท คือ external และ internal ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดของ external trigger คือ การแจ้งเตือนโดยการใช้อีเมล หรือไอคอนของแอปบนหน้าจอมือถือนั่นเอง

Action

หลังจากเกิด trigger แล้ว สิ่งที่ตามมาคือ action ซึ่งในเฟสนี้ เราต้องนำทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการออกแบบ UX มาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ดีไซน์เนอร์ได้ออกแบบไว้

Variable Reward

จากงานวิจัย แสดงให้เห็นว่าสารโดพามีนสูงขึ้นเมื่อสมองคาดหวังรางวัลบางอย่าง ทำให้เกิดสถานะ hunting state ที่จะไปกระตุ้นส่วนที่ทำให้เกิดความอยากได้ และความต้องการ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน เช่น slot machine และลอตเตอรี่นั่นเอง

Investment

ส่วนสุดท้ายของ Hook Model คือส่วนที่ลูกค้าจะถูกขอให้กระทำการบางอย่างเพื่อส่งเสริมให้ระบบดีขึ้น Investment หมายถึงการกระทำอะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้ระบบพัฒนาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชิญชวนเพื่อน การแสดงความชอบ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในผลิตภัณฑ์ ล้วนถือเป็น investment ที่มาจากลูกค้าทั้งสิ้น ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถส่งเสริมให้ขั้นตอนอื่น ๆ ง่ายและน่าสนใจมากขึ้นได้อีกด้วย

8. Build your tribe

ถึงเวลาที่คุณต้องสร้างคอมมูนิตี้ให้กับกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบ และเชื่อมั่นใน Mission ของผลิตภัณฑ์ที่คุณสร้างขึ้นมา โดยให้ลองคิดว่ากลุ่มลูกค้ากลุ่มไหนที่จะหลงใหลธุรกิจของคุณจนกลายเป็น Loyal customer และบอกต่อกลุ่มเพื่อนของพวกเขา

9. Make it remarkable

เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นอะไรที่น่าจดจำ  พยายามทำให้แตกต่างจากคนอื่นให้มาก หากคุณ Play safe เกินไปคุณก็จะถูกมองข้ามได้ง่าย ให้หาเหตุผลที่จะทำให้ผู้คนพูดถึงคุณ

10. Make it part of a strategy

ส่ิงที่ Startup มักจะทำผิดพลาด คือการมองว่า MVP เป็นแค่ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ Product development strategy วิธีการดังกล่าวนั้นมีความเสี่ยงและทำให้คุณเสียเปรียบได้ คุณจะต้องสื่อสารให้ชัดเจนกับทีมว่าวิสัยทัศน์ของคุณคืออะไร จะดำเนินการไปในทิศทางไหน วิธีการคืออะไร และ MVP จะเข้ามาช่วยส่วนนี้ได้อย่างไรบ้าง ให้คุณพึงจดจำไว้เสมอว่าผลิตภัณฑ์เวอร์ชันแรกของคุณนั้นเป็นการเริ่มต้นการเดินทาง ไม่ใช่จุดสิ้นสุด

บทสรุป

การสร้างผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องยาก แต่หากคุณมี Business model ที่เหมาะสม ทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และทำให้พวกเขาพูดถึงผลิตภัณฑ์คุณได้ คุณจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ติดตาม และสร้างธุรกิจให้เป็นไปตามที่ต้องการได้

Senna Labs มีบริการช่วยออกแบบ ให้คำปรึกษา Build MVP เปลี่ยนไอเดียของคุณให้เป็นจริง เริ่มจากทดลองไอเดียทางธุรกิจ ตรวจสอบราคาในการสร้าง Prototype เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถเริ่มโปรเจกต์ในอุดมคติของคุณกับเราแล้ว กดเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

_____

Original article: 

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

บทความอื่นๆ

16
November, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
16 November, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
16
November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
16 November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English
16
November, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
16 November, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!ติดต่อเรา
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.