การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด
ตัวอย่างการทำ Pivot
ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง
Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท
-
Customer Need Pivot
พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเปลี่ยนความต้องการของผู้ใช้หรือปัญหาของผู้ใช้ แต่ยังสามารถทำแผนจากกลุ่มผู้ใช้กลุ่มเดิมได้
-
Customer Segment Pivot:
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ยังแก้ปัญหาเดิมได้อยู่ แต่เปลี่ยนกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
-
Business Architecture Pivot:
เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ เช่นเปลี่ยนจาก B2B เป็น B2C
-
Zoom in Feature Pivot:
การให้ฟีเจอร์ใดฟีเจอร์หนึ่ง กลายเป็นฟีเจอร์หลักของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ
-
Zoom out Feature Pivot:
เพิ่มฟีเจอร์การใช้งานให้มากขึ้น เพราะของเดิมมีน้อยเกินไป
-
Technology Pivot
การนำเสนอผลิตภัณฑ์เดิม แต่ใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่า ที่ทำให้ต้นทุนถูกลง หรือ การผลิตดีขึ้น
-
Channel Pivot
เปลี่ยนช่องทางการขาย เช่น เปลี่ยนจากการใช้ตัวแทนเป็นการขายตรง
Platform Pivot: การเปลี่ยนผลิตภัณฑ์จากแอปพลิเคชันเป็นแพลตฟอร์ม หรือ เปลี่ยนจากแพลตฟอร์มเป็นแอปพลิเคชัน เช่น เปิด API ให้คนอื่นมาสร้างเว็บหรือ Application บนใช้เน็ตเวิร์คของเรา
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก Digital Ventures