19Jul, 2023
Language blog :
Thai
Share blog : 
19 July, 2023
Thai

วิธีการทำ Sprint Grooming

By

2 mins read
วิธีการทำ Sprint Grooming

วิธีการทำ Sprint Grooming

ก่อนที่จะไปพูดถึงวิธีการทำ Sprint Grooming ต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า Sprint Grooming เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการทำงานแบบ Scrum ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิดการทำงานแบบ Agile

Agile เป็นกรอบแนวคิด และวิธีการทำงานที่คนทำงานสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าระหว่างการทำงานในโปรเจกต์โดยที่ไม่ต้องรอแก้ไขตอนจบโปรเจกต์ทีเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายน้อยกว่า และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดีกว่า

การทำงานแบบ Scrum หมายถึง การแบ่งย่อยการทำงานจากระยะยาวให้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อที่จะสามารถแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการทำงาน และทำให้ลูกค้าได้เห็นผลงานในทุกช่วงเวลาระหว่างทางก่อนที่จะส่งมอบงานทั้งโปรเจกต์ให้กับลูกค้า 

 

การทำงานแบบ Scrum ของเซนน่า แล็บ

การทำงานของเซนน่าแล็บ เราจะแบ่งย่อยงานทั้งโปรเจกต์ออกเป็น Sprint เพื่อแบ่งการทำงานเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ปกติ Sprint จะแบ่งงานออกเป็น 1-2 สัปดาห์ โดยมีส่วนประกอบการทำดังนี้

  • Create Backlog 

  • Sprint Grooming

  • Sprint Planning

  • Daily Stand Up

  • Demo

  • Retrospective

ข้อดีของการทำงานแบบ Scrum

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า การทำงานแบบ Scrum เป็นวิธีที่เราสามารถแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงานได้ตลอดระยะเวลาการทำงาน ในซอฟต์แวร์บางอย่างมีขั้นตอนการพัฒนาที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน ซึ่งการทำงานแบบ Scrum จะไม่ได้ทำให้โปรเจกต์เสร็จเร็วขึ้น แต่ทำให้ได้เห็นผลลัพธ์ของงานในวงรอบที่สั้นลง จะช่วยลดปัญหาซอฟต์แวร์ไม่ตอบโจทย์หลังจากเวลาผ่านไปนานเป็นปี ๆ เนื่องจากความต้องการของลูกค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือหากมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็สามารถปรับใช้ระหว่างทางได้เลย แต่เราก็ต้องคำนึงถึงข้อควรระวังคือเรื่องของการแก้ไขงานจะต้องอยู่ใน Scope requirement ที่ได้ตกลงกันไว้กับลูกค้าในตอนเซ็นสัญญา เพราะหากเราไม่ระวัง ระหว่างทางเราอาจได้ลงมือทำ CR (Change Request) ไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจะทำให้โปรเจกต์นั้นไม่เป็นไปตามระยะเวลาและงบประมาณที่ได้วางแผนเอาไว้

Sprint grooming

ความสำคัญของ Sprint Grooming

Sprint Grooming คืออะไร?

Sprint Grooming คือกระบวนหลังจากที่เราได้สร้าง Backlog เรียบร้อย + ก่อนที่เราจะเริ่มงานในแต่ละ Sprint เราจะต้องวางแผนก่อนว่าใน Sprint ที่จะมาถึง เราจะเลือก Backlog อันไหนมาทำ ซึ่งคนที่จะตัดสินใจตรงนี้จะเป็น Project Manager วางแผนร่วมกับ Lead Developer โดย Project Manager จะเป็นคนที่รู้ Requirement ของลูกค้า ว่าลูกค้าให้ความสำคัญกับส่วนไหน ต้องการให้ส่วนไหนเสร็จก่อน และ Lead Developer จะเป็นคนที่รู้ว่าเราสามารถทำส่วนไหนได้ก่อนส่วนไหนในเชิงของ Technical หากโปรเจกต์ไหนที่ Product Owner (ฝั่งลูกค้า) สามารถเข้าร่วมประชุม Grooming ด้วยได้ก็จะดีหน่อยตรงที่เราสามารถสอบถามความต้องการของเขาได้โดยตรง ส่งผลให้ผลประกอบการของแต่ละ Sprint เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งหากเราไม่มีกระบวนการ Grooming นี้ การทำงานในแต่ละ Sprint ก็อาจเสียเวลาเยอะกว่าเดิม เนื่องจากไม่มีการวางแผนที่ดี คนทำงานก็จะทำงานแบบงง ๆ ไม่รู้ต้องเริ่มตรงไหนก่อน

Sprint Grooming ทำอย่างไร?

เราจะประชุมระหว่าง Project Manager กับ Lead Developer (หรือมี Product Owner จากฝั่งลูกค้ามาร่วมประชุมด้วยก็ได้) เพื่อมาดู Timeline กับ Feature ที่จะเลือกมาทำ ซึ่งข้อมูลจะถูกเรียบเรียงไว้ตามที่ทีม Business Development ได้ตกลงไว้กับลูกค้า 

Project Manager จะนำข้อมูล Timeline กับ Feature ตรงนั้นมาสร้าง Backlog รอ โดยการทำ Grooming คือการปรับแต่งเจ้าตัว Backlog ที่เราเตรียมไว้ให้สามารถนำมาทำงานได้เป็น Story หรือ Flow เน้นการดู Product Roadmap ในภาพรวม พูดคุยกว้าง ๆ เน้นความเข้าใจใน User Story ซึ่ง 1 Backlog อาจจะกินเวลาการทำงานโดยทั่วไปอย่างน้อย 3 วัน แล้วเราก็จะสามารถเอาตัว Backlog นั้นไปทำ Sprint Planning ต่อได้ การ Grooming ตัว Backlog จึงเหมือนเป็นการเก็บสะสม Story ที่มีรายละเอียดเพียงพอเอาไว้ พอถึงคราวที่ต้องทำ Sprint Planning ก็ไม่ต้องคุยรายละเอียดกันมาก แล้ว Developer ที่ต้องลงมือทำงานจริงก็จะเห็นภาพมากขึ้นจาก Story ที่ Project Manager ได้เตรียมไว้ แล้วพอถึงเวลา Planning ก็จะแค่มาดูว่า Sprint นี้จะรับงานได้เท่าไรแล้วก็วางแผนการทำงานไปตาม Priority ที่ Project Manager กับ Lead Developer ได้เลือกเอาไว้ได้เลย 

ปกติการ Grooming จะกินเวลาไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง ในช่วงแรกอาจจะนานหน่อย แต่ช่วงหลังพอเริ่มจับทาง Requirement ได้ เวลาที่ใช้ก็จะสั้นลง

ส่วนเซนน่า แล็บของเราก็ใช้วิธีการทำงานแบบ Scrum เช่นกัน เรามองว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ดี สามารถช่วยให้เราสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที หรือแม้กระทั่งลูกค้ามีการปรับเปลี่ยน Requirement ระหว่างทาง เราก็สามารถต่อรองกันได้เพื่อทำให้ซอฟต์แวร์ที่เราส่งมอบให้ลูกค้านั้นตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด หากใครอยากลองนำวิธีนี้ไปปรับใช้ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติม และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานของตัวเองได้เช่นกัน



แหล่งอ้างอิง

 

Written by
Nun Nuntachat Youpanich
Nun Nuntachat Youpanich

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

17
November, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
17 November, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
17
November, 2024
Preview email ด้วย Letter Opener
17 November, 2024
Preview email ด้วย Letter Opener
Letter Opener เป็น gem ของ ที่ใช้แสดงรูปแบบของอีเมลที่เราต้องการจะส่ง ก่อนที่จะส่งจริง เพื่อให้ง่ายและไวต่อการทดสอบ Let's Get started... Installation เพิ่ม Gem ใน Gemfile จากนั้นรัน `bundle install` # Gemfile group :development do gem "letter_opener" gem "letter_opener_web", "~> 1.0" end กำหนดการส่งอีเมลโดยใช้ letter_opener (กรณี Production จะใช้เป็น :smtp) # config/environments/development.rb config.action_mailer.delivery_method

By

3 mins read
Thai
17
November, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
17 November, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.