09Nov, 2020
ภาษา :
Thai
Share blog : 
09 November, 2020
Thai

เจาะลึก UX Process #1 เพื่อใคร อะไร ยังไง

By

6 mins read
เจาะลึก UX Process #1 เพื่อใคร อะไร ยังไง

ก่อนที่เราจะมาพูดเรื่อง กระบวนการทำงานด้าน UX นั้น เราจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า UX คืออะไร ช่วยอะไร และเกี่ยวกับใครบ้าง ซึ่งหลายครั้งที่เห็นบทความเกี่ยวกับด้าน UX หลาย ๆ คนอาจจะงงจับต้นชนปลายไม่ถูก เจอคำศัพท์ยาก ๆ เต็มไปหมด วันนี้เราจึงมาพูดถึงเรื่องพื้นฐาน และคอนเซปต์ของความเป็น UX กันก่อนเพื่อให้เห็นภาพรวมเดียวกัน ลองไปดูกันเลยครับ

UX (User Experience) คืออะไร

UX คือ การออกแบบเชิงประสบการณ์ ไม่ได้เจาะจงเฉพาะงานดิจิทัลอย่างเดียว แต่เนื่องด้วยยุคสมัยนี้เป็นยุคดิจิทัล งานส่วนใหญ่จึงเป็นไปในแนวทางของผลิตภัณฑ์ดิจิทัลมากกว่านั่นเอง พูดง่าย ๆ UX ก็คือการทำงานออกแบบที่ผสมผสานความต้องการหลาย ๆ อย่าง ให้ลงตัวกันอย่างเหมาะสม ซึ่งส่วนผสมหลักของงาน UX นั้นจะประกอบไปด้วย

UX (User Experience)

“ความต้องการ, แรงจูงใจ และความรู้สึกเชิงลึกของกลุ่มผู้ใช้งาน + ความต้องการ, เงื่อนไขทางธุรกิจและเป้าหมายของธุรกิจนั้น + การนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม นำข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ และออกแบบ อย่างมีประสิทธิภาพ”

ทีนี้ทุกคนน่าจะมองเห็นภาพรวมแล้วใช่ไหมครับว่า UX Designer จะไม่ได้แค่ออกแบบหน้าตาให้ใช้ง่ายอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจกัน คนที่เป็น UX Designer จะต้องคำนึงถึงชิ้นงานนั้น ๆ มากกว่าการออกแบบให้หน้าตาสวย ใช้งานง่าย (ซึ่งงานบางงาน UX แทบไม่ได้แตะงานออกแบบ UI เลยด้วยซ้ำ) อีกทั้งยังต้องตอบโจทย์ทางธุรกิจทั้งแผนงานและความต้องการภาพรวมให้ลงตัว ผนวกกับการใช้เทคโนโลยีที่ “กลุ่มผู้ใช้งาน” สามารถใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ และ “ธุรกิจนั้น ๆ” สามารถหยิบยกเทคโนโลยีนั้นมาใช้ได้เหมาะสมตามศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมกับหน้าตาการออกแบบที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างลงตัวตามทั้งหมดที่กล่าวมา

The spectrum of user experience by Oliver Richardson

ใครเกี่ยวข้องกับ UX Process บ้าง

หัวข้อนี้เป็นเรื่องผู้ว่าจ้างส่วนมากหรือหลายคนเข้าใจกันผิดกันเยอะพอสมควร หลายที่จะคิดกันว่า “ก็ปล่อยให้ UX ทำไป แล้วค่อยมาดู” ซึ่งก็อาจจะถูก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนที่เกี่ยวข้องในโปรเจกต์นั้นควรมีบทบาทในการร่วมออกแบบไปด้วยกัน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ซึ่งอาจจะตอบได้ยากว่ามีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง ต้องย้อนกลับไปดูปัญหาของงานนั้น ๆ หรือความต้องการของโปรเจกต์ด้วย

ยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้นึกถึงร้านอาหารเวลาเราไปใช้บริการ เราจะเจอพนักงานต้อนรับพาไปที่โต๊ะ > หลังจากนั้นเราจะเลือกเมนูที่สนใจ > และอาจจะถามพนักงานที่รับออเดอร์เกี่ยวกับเมนูแนะนำ > ต่อจากนั้นพนักงานจะมารับออเดอร์ > ผ่านไปซักพักจะมีพนักงานมาเสิร์ฟอาหารให้เราที่โต๊ะ > เมื่อทานอาหารเสร็จเราจะเรียกชำระเงิน > ส่วนพนักงานอีกคนก็จะเข้ามาเก็บจานอาหาร > และในขณะที่กำลังออกจากร้านเราก็จะได้ยินคำกล่าวขอบคุณจากพนักงาน

สมมติว่า ร้านนี้ต้องการปรับปรุงเรื่องความรวดเร็วในการให้บริการซึ่งมีลูกค้าหลายคนร้องเรียนมา ร้านจะมีวิธีการในการแก้ปัญหานี้อย่างไร ?

ลองคิดดูว่าจาก Journey การเข้าใช้บริการร้านอาหาร เราเจอใครในร้านบ้าง และอาจจะมีพนักงานอีกหลายส่วนที่อยู่หลังครัวที่เกี่ยวข้องกับปัญหานี้ และนั่นคือคนที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงระบบและแก้ปัญหานี้กับทีม UX ให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งาน ตามเป้าหมาย และเงื่อนไขต่าง ๆ ทางธุรกิจให้ลงตัวที่สุดนั่นเอง

ภาพรวมกระบวนการการทำงานด้าน UX

กระบวนการทำงานด้าน UX ของผลิตภัณฑ์หนึ่ง ๆ นั้นถ้าเกิดขึ้นกับองค์กรที่ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะลงทุนกับงานด้าน UX การทำ UX จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่เราพัฒนาระบบขึ้นมาจนกว่าเราจะเลิกใช้ หรือปิดโปรเจกต์นั้นไป เนื่องจากประสบการณ์ ความรู้สึก แรงจูงใจของผู้ใช้งานนั้นเปลี่ยนไปตลอดเวลา ทิศทางธุรกิจ เป้าหมาย ปัญหาต่าง ๆ ก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วในโลกดิจิทัลเช่นกัน งานด้าน UX จึงเกิดขึ้นเสมอในช่วงการให้บริการผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้งาน

UX Process

กระบวนการทำงานภาพใหญ่สุดของการทำงานด้าน UX จะมี 2 ส่วนคือ ก่อนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ หลังจากพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปแล้ว ซึ่งแนวคิดของสองฝั่งนี้จะคล้าย ๆ กัน คือ

  1. เข้าใจปัญหา, เป้าหมาย และเงื่อนไขต่าง ๆ ทางธุรกิจ
  2. เรียนรู้, เข้าใจปัญหา, ค้นหาแรงจูงใจของผู้ใช้งาน
  3. ทำการออกแบบ พัฒนา และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน
  4. วัดผลออกมา ค้นหาจุดบกพร่องหรือปัญหาใหม่ ๆ ที่จะตามมา

จากทั้งหมดที่เล่ามานี้น่าจะทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมในการทำงานของ UX ทั้งหมดแล้ว ซึ่งการลงรายละเอียดในขั้นตอนต่าง ๆ เราจะพูดถึงในบทความถัดไปในหัวข้อ เจาะลึก UX Process #2 อย่าลืมติดตามกันนะครับ

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

บทความอื่นๆ

16
November, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
16 November, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี

By

3 mins read
Thai
16
November, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
16 November, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีก Google Fonts คืออะไร? (กันแน่) หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

By

4 mins read
Thai
16
November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
16 November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!ติดต่อเรา
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.