รวม Payment Gateway ที่น่าสนใจสำหรับการชำระเงินออนไลน์ให้ร้านค้าออนไลน์
หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า Payment Gateway แต่ไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ทุกคนจะต้องเคยใช้งานระบบนี้มาแล้วอย่างแน่นอน เพราะ Payment Gateway เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ระหว่างร้านค้าออนไลน์และลูกค้าที่เข้าไปซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งตอนนี้ในประเทศไทยมี Payment Gateway ให้บริการอยู่หลายเจ้า มาทำความรู้จักไปพร้อมๆกันเลย
ประเภทของ Payment Gateway
ในปัจจุบันการเปิดร้านค้าออนไลน์สามารถสร้างยอดขายได้ไม่ต่างจากการเปิดหน้าร้านที่เป็นออฟไลน์ ซึ่งช่วยประหยัดในเรื่องของค่าเช่า ค่าแรงพนักงานหน้าร้าน ไม่ต้องรับความเสี่ยงต่างๆที่เกิดจากร้านค้าออฟไลน์ ทำให้เกิดเป็นธุรกิจในโลกออนไลน์มากมาย ซึ่งกระบวนการที่สำคัญสำหรับร้านค้าออนไลน์คือจะต้องมีการชำระเงินออนไลน์ก่อนที่จะแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ตัวช่วยที่เข้ามาช่วยทำให้การชำระเงินออนไลน์เป็นเรื่องที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากเรียกว่า Payment Gateway โดยในปัจจุบันมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ
-
การชำระเงินออนไลน์โดยเชื่อมกับธนาคารโดยตรง (Bank) จะมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้ธุรกิจ อีกทั้งค่าบริการต่อรายการจะต่ำกว่าแบบ 3rd Party แต่จะเหมาะสำหรับบริษัทที่มีเครดิตค่อนข้างดี เพราะว่าจะมีข้อจำกัดและข้อแม้ค่อนข้างยิบย่อย ต้องมีเงินฝากค้ำประกัน ซึ่งทำให้ระบบ Bank นี้เหมาะกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่มีข้อจำกัดด้านทุนจดทะเบียนมาเกี่ยวข้อง
-
การชำระเงินออนไลน์ผ่าน 3rd Party (Non-Bank) เหมาะสำหรับทุกประเภทธุรกิจ เพราะไม่ค่อยมีข้อจำกัดและข้อแม้ยิบย่อยเท่าแบบ Bank ถึงแม้เป็นร้านค้าขนาดเล็กที่เพิ่งเปิดก็ยังสามารถใช้งานได้ ซึ่งตอนนี้มีอยู่หลายเจ้าที่ให้บริการเชื่อมต่อกับระบบร้านค้าเพื่อทำธุรกรรมการเงิน ทางร้านค้าสามารถเลือกใช้ Payment Gateway ที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองได้เลย
ตัวอย่าง Payment Gateway แบบ Non-Bank ที่เราคุ้นเคย
ในขณะที่เรากดชำระเงินเวลาซื้อของออนไลน์ จะต้องเคยเห็น Payment Gateway เหล่านี้ผ่านตาอย่างแน่นอน
1. Paypal เป็นช่องทางที่นิยมใช้ทั่วโลก ทำหน้าที่เหมือนเป็นกระเป๋าเงินให้ลูกค้า มีหลายสกุลเงิน ลูกค้าสามารถซื้อของออนไลน์ได้ทั่วโลก โดย PayPal ได้รับการยอมรับในกว่า 200 ประเทศ เราจึงสามารถซื้อสินค้าจากแบรนด์ทั่วโลกและชำระเงินได้ในสกุลเงินที่ต้องการ
2. 2C2P ระบบ Payment ของ 2C2P แบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
a. บริการชำระเงินผ่านบัตร (Card) ครอบคลุมบัตรเครดิต เดบิต และบัตรเติมเงิน (Prepaid Card)
b. บริการชำระเงินทางเลือก (Alternative Payments Methods: APMs) หรือบริการ 1 2 3 ครอบคลุมการชำระเงินผ่านอะไรก็ตามที่ไม่ใช่บัตร เช่น การตัดบัญชีธนาคาร การจ่ายเงินสดผ่านเคาท์เตอร์ที่ให้บริการ การโอนเงินจากบัญชีธนาคาร หรือการตัดเงินผ่านตู้ ATM
c. บริการชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Wallet) ซึ่งเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้ ครอบคลุมทั้ง Wallet ที่เป็นระบบเปิดที่ใช้ได้กับทุกร้านค้า และระบบปิดที่ใช้ภายในองค์กรเท่านั้น
d. บริการชำระเงินในประเทศ (Local Payment) เป็นช่องทางชำระเงินที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นข้อกำหนดของรัฐบาลแต่ละประเทศ อย่างของไทย คือ พร้อมเพย์ (PromptPay)
3. Omise เป็นระบบรับชำระและจัดการเงินที่สามารถควบคุมได้เองทุกอย่าง ตั้งแต่การออกแบบหน้ารับชำระเงิน การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการโอนเงินออกจากระบบ ซึ่งในปัจจุบันการชำระการซื้อสินค้าหรือบริการบนอินเทอร์เน็ต เราสามารถชำระเงินได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน, Bill-Payment, Internat Banking, บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ก็สามารถทำได้บน Omise ทั้งสิ้น โดย Omise จะมีระบบงานอัตโนมัติที่ไม่ต้องลงมือเอง สามารถให้ระบบทำแทน เลือกเชื่อม API ของเราให้เข้ากับระบบการทำงานของธุรกิจ งานที่ซ้ำซากจำเจ งานที่ต้องใช้ความถูกต้องแม่นยำสูง สามารถตั้งระบบไว้ล่วงหน้า และจัดการทุกอย่างแบบอัตโนมัติ ทำให้ลดโอกาสการทำพลาด และยังเป็นมิตรกับนักพัฒนาระบบ เชื่อมต่อง่าย ใช้เวลานิดเดียว ออกแบบประสบการณ์การชำระเงินทั้งหมดได้เอง โดยมี SDK ที่รองรับหลากหลายภาษาโปรแกรม ทั้งบนเซิร์ฟเวอร์, เบราว์เซอร์, iOS และ Android เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการพัฒนา และช่วยให้แน่ใจว่าข้อมูลสำคัญจะถูกปกป้องไว้เสมอ
4. Stripe คือการทำระบบจ่ายเงินให้บริษัทอื่นๆใช้งานอีกต่อหนึ่ง ระบบของ Stripe รองรับการจ่ายเงินหลากหลายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ และนอกจากนี้ Stripe ยังช่วยบริษัทต่างๆ ในการรับมือกับการฉ้อโกง ส่งใบแจ้งหนี้ ออกบัตรดิจิทัลและบัตรจริง ลดความยุ่งยากในขั้นตอนการชำระเงิน จัดการค่าใช้จ่ายทางธุรกิจ และอีกมากมาย โดย Stripe ได้รับคำชมมากมายจากนักพัฒนาระบบ ว่าสามารถนำไปเชื่อมกับระบบได้ค่อนข้างสะดวกและมี API ที่ใช้ง่าย
5. Rabbit LINE Pay เราน่าจะคุ้นเคยเพราะคนไทยส่วนใหญ่มีโปรแกรม Line ส่วนตัวใช้แทบจะ 100% Rabbit LINE Pay รองรับบริการหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น การขึ้นรถไฟฟ้า BTS การแสกนจ่ายเงินตามร้านค้าต่างๆ เป็นบริการช่องทางการชำระเงินรูปแบบใหม่ที่ง่ายและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน LINE สามารถทำการชำระเงินทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์
-
Online – การเปิดช่องทางการชำระเงิน Rabbit LINE Pay บนเว็บไซต์
-
webPOS – การใช้งานที่คล้ายกับเครื่องรูดบัตรหน้าร้าน หรือหากมีลูกค้าสั่งสินค้าผ่านช่องทาง Chat ก็สามารถใช้ webPOS ส่งลิงก์จ่ายเงินให้ลูกค้ากดชำระเงินผ่าน Rabbit LINE Pay ได้
-
Offline – การเชื่อมต่อ API ของ Rabbit LINE Pay และ POS หน้าร้านค้า รวมถึงมีแผนการส่งเสริมการตลาดร่วมกับพาร์ตเนอร์ เพื่อโพสต์ผ่านทาง Rabbit LINE Pay Official Account
-
QR Code – การชำระผ่าน QR Code เพื่อให้ลูกค้าสแกนเพื่อชำระสินค้าและบริการของร้านค้าผ่าน Rabbit LINE Pay โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม
การติดตั้ง Payment Gateway
สำหรับร้านค้าที่มีการจ้างนักพัฒนาระบบทำเว็บไซต์ร้านค้า ในส่วนของการติดตั้ง Payment Gateway จะถูกรวมอยู่ในส่วนที่นักพัฒนาระบบจะติดตั้งให้อยู่แล้ว โดยจะมีการตกลงกันก่อนที่จะเริ่มพัฒนาระบบว่าทางร้านค้าต้องการ Payment Gateway เจ้าไหนมาให้บริการในเว็บไซต์บ้าง ซึ่งแต่ละเจ้าจะมีวิธีติดตั้งที่ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ทางร้านค้าก็จะเลือกหลายแบบรวมกัน เพื่อรองรับการชำระเงินออนไลน์จากลูกค้าจากหลายวิธี หรือหากทางร้านค้าไม่ได้มีการจ้างนักพัฒนาระบบเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ร้านค้า ก็สามารถติดต่อไปที่บริษัทของ Payment Gateway เจ้าต่างๆเพื่อสอบถามข้อมูลและขอให้ทางบริษัทผู้ให้บริการเข้ามาช่วยเหลือในการเชื่อมต่อระบบซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีบริการตรงนี้อยู่แล้วด้วยเช่นกัน
แหล่งอ้างอิง
-
รู้จัก 2C2P ระบบเพย์เมนต์ที่หลายคนเคยใช้บริการ แต่ยังไม่รู้ตัว
-
Omise (โอมิเซะ) คืออะไร และมีความหมายอย่างไรเกี่ยวกับธุรกิจ E-commerce
-
รู้จัก LINE Pay ชีวิตที่ง่ายขึ้นทั้งลูกค้า-ร้านค้า เมื่อไม่ต้องใช้เงินสด!