hand lt
hand lt
hand lt
26Jul, 2023
Language blog :
Thai
Share blog : 
26 July, 2023
Thai

เปรียบเทียบ 4 ผู้ให้บริการ Cloud Platform ที่น่าสนใจ

By

5 mins read
เปรียบเทียบ 4 ผู้ให้บริการ Cloud Platform ที่น่าสนใจ

Cloud Platform ถือกำเนิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์ระบาดใหญ่ของโรค Covid-19 เพื่อรองรับการปรับตัวจากการทำงานแบบ Onsite ที่เป็น Online มากยิ่งขึ้น การจัดเก็บข้อมูลจึงถูกถ่ายโอนจาก Offline ที่เป็น Online มากขึ้นเช่นกัน ถึงแม้สถานการณ์ดังกล่าวจะดีขึ้นตามลำดับ แต่วิถีการทำงานแบบ Remote Work ยังคงเป็นที่นิยมในหลายองค์กรไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม โดยเฉพาะเพื่อการปรับตัวให้เข้าสู่การทำงานแบบยุค Digital 4.0 จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Cloud Platform ยังคงเป็นตัวช่วยสำคัญที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องของการจัดการระเบียบข้อมูลบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud Platform หลากหลายเจ้า แต่วันนี้ทางเราขอเปรียบเทียบ 4 ผู้ให้บริการ Cloud Platform ที่น่าสนใจ สำหรับการบริหารข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตมาให้ทุกคนได้รู้จักกัน

aws

Amazon Web Services (AWS)

Amazon Web Services หรือ AWS เป็นบริการ Cloud Platform ที่มีสัดส่วน Market Share ในระบบคลาวด์มากที่สุดในโลก โดยจุดเด่นของ AWS คือมีบริการที่ค่อนข้างหลากหลายมากกว่า 200 โซลูชัน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ Server, Networking, Database, Application Service และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งผู้ใช้บริการของ AWS มีหลากหลายตั้งแต่บริษัท Startup จนกระทั่งถึงองค์กรขนาดใหญ่ รวมไปถึงหน่วยงานของรัฐ

 

ฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจ

  1. มีฟังก์ชันการใช้งานที่ครอบคลุมด้วย Solution ของ AWS ที่มีมากกว่า 200 รูปแบบทำให้เหมาะกับธุรกิจทั้ง Startup องค์กรขนาดใหญ่ หรือหากธุรกิจขนาดเล็กที่มีแนวโน้มการเติบโตในอนาคต

  2. สามารถ Intergrate บริการต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากเป็น Cloud Platform ที่มีบริการเครื่องมือที่หลากหลาย  และมีฟังก์ชันการใช้งานที่ออกแบบตามวัตถุประสงค์สำหรับการใช้งานประเภทต่าง ๆ ทำให้สามารถเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับงานเพื่อรับความคุ้มค่าและประสิทธิภาพการทำงานสูงสุดได้

  3. ระบบความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน โดย AWS ผ่านการรับรองความปลอดภัยของแต่ละประเทศและในระดับสากล เช่น FISC และ FINTECH ของประเทศญี่ปุ่นและ Global Compliance อื่น ๆ อีกด้วย

 

ค่าบริการ

ค่าบริการสำหรับ Amazon Web Services นั้นจะเป็นระบบการเก็บเงินตามการใช้งานจริง ซึ่งมีความคุ้มค่าและไม่ได้มีราคาแพงอย่างที่คิด โดยจะเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะเครื่องมือและบริการที่เราเลือกใช้เท่านั้น ทำให้สามารถควบคุมงบประมาณในการใช้ Cloud Platform ได้อย่างดีเยี่ยม

 

ระบบรักษาความปลอดภัย

ระบบ Cloud Platform ของ AWS มีโครงสร้างพื้นฐานหลักซึ่งสร้างขึ้นตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับการทหาร ธนาคารทั่วโลกและองค์กรที่สำคัญต่าง ๆ ผ่านการรับรองความปลอดภัยของแต่ละประเทศและในระดับสากล

 

ช่องทางการติดต่อ

สำหรับช่องทางการติดต่อของ Amazon Web Serives สามารถติดต่อโดยกรอกแบบฟอร์มผ่านทาง Website https://aws.amazon.com/th/contact-us/sales-support/

 

ทดลองใช้ฟีเจอร์ฟรี

Cloud Platform ของ AWS จะมีหลายฟังก์ชันที่สามารถใช้ได้ฟรี (อาจมีค่าบริการเพิ่มเติมเมื่อใช้ครบลิมิต) เช่น AWS CodeBuild, Amazon Simple Notification Service (SNS) และฟังก์ชันที่ให้ทดลองใช้ได้ฟรี 12 เดือน เช่น Amazon CloudFront, Amazon EBS เป็นต้น



Microsoft Azure

 

Microsoft Azure

Microsoft Azure เป็นบริการ Cloud Platform จาก Microsoft ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลาย ซึ่งมีศูนย์ข้อมูลกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ (Region) กว่า 60 ภูมิภาคทั่วโลก โดย Microsoft Azure นำเสนอบริการและเครื่องมือที่คลอบคลุมสำหรับธุรกิจทุกขนาด มีจุดเด่นคือผู้ใช้บริการ Azure ยังสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถในการปรับขนาด ความน่าเชื่อถือ การเข้าถึงทั่วโลก และการรวมเข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการอื่น ๆ ของ Microsoft

 

ฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจ

  1. สามารถผสานรวมกับบริการอื่น ๆ ของ Microsoft เช่น Office 365 และ Dynamics 365 ซึ่งจะมีประโยชน์สำหรับองค์กรที่ใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่แล้ว รวมถึงมีความยืดหยุ่นสูงเนื่องจาก Azure สามารถรองรับภาษาและการเขียนโปรแกรมและเครื่องมือที่หลากหลาย

  2. ระบบความปลอดภัยแบบ Proactive โดยทาง Microsoft ได้มีการวางเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้าน Cybersecurity กว่า 3,500 คนไว้ทั่วโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะคอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้บริการหากเกิดปัญหาติดขัดในการใช้งาน รวมทั้งการใช้ระบบแบบ Proactive ที่คอยตรวจสอบตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้หากเกิดความผิดปกติก็จะแก้ปัญหาได้ทันที

 

ค่าบริการ

ในส่วนของค่าบริการนั้น Microsoft Azure ใช้ระบบ Pay-as-you-go โดยจะคิดค่าบริการตามที่ใช้งานจริงและไม่มีข้อผูกมัดในการใช้งาน สามารถยกเลิกได้ทุกเมื่อ สามารถตรวจสอบค่าบริการได้ที่ https://azure.microsoft.com/en-us/pricing/purchase-options/pay-as-you-go/

 

ระบบรักษาความปลอดภัย

ระบบ Coud Platform ของ Microsoft Azure นั้นมีระบบการรักษาความปลอดภัยแบบ Proactive ซึ่งจะคอยตรวจจับความผิดปกติ อีกทั้งยังครื่องมือเฝ้าระวังอัจฉริยะ อัลกอริทึม Machine Learning และ AI ที่มาสนับสนุน ทำให้สามารถตรวจจับและหยุดยั้งการโจมตีระบบ Cloud ได้แบบ real-time

 

ช่องทางการติดต่อ

หากต้องการติดต่อสอบถามหรือขอความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ผ่านช่อง Chat session ภายในเว็บไซต์ของ Microsoft Azure เนื่องจากยังไม่สามารถติดต่อผ่านช่องทางโทรศัพท์ในประเทศไทยได้

 

ทดลองใช้ฟีเจอร์ฟรี

สำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้บริการของ Azure มาก่อนและสนใจอยากทดลองใช้ ทาง Microsoft Azure ก็มีแพคเกจให้ทดลองใช้ได้ฟรี 12 เดือน รวมถึงให้ $200 ในรูปแบบของเครดิตในการซื้อบริการเพิ่มเติมอีกด้วย สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ https://azure.microsoft.com/en-us/free/




Google Cloud Platform

Google Cloud Platform

Google Cloud Platform หรือ GCP เป็นระบบ Cloud Platform ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Google ที่ออกแบบให้ใช้งานง่าย แค่เพียงมี Gmail ก็สามารถสมัครใช้งานได้ทันที ซึ่งมีฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจ เช่น Compute Engine, Cloud Storage และ Cloud Dataflow เป็นต้น

 

ฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจ

  1. Compute Engine บริการคอมพิวเตอร์เสมือนหรือ VM (Virtual Machine) ตัดปัญหาและเวลาในการจัดหาอุปกรณ์ Hardware ต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถกำหนดสเปคได้ตามที่เราต้องการ อีกทั้งยังมีระบบ Pay-per-used ที่คิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง จึงสามารถช่วยควบคุมต้นทุนของบริษัทได้

  2. Cloud Storage บริการที่ช่วยจัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วิดีโอหรือไฟล์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถแชร์ให้เข้าถึงได้ทุกคนและทุกภาคส่วนในองค์กร อีกทั้งยังสามารถโยกย้ายข้อมูลได้อย่างง่ายดาย

  3. Cloud Dataflow บริการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ในการทำ Pipeline ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลได้ทั้งแบบ Stream และ Batch ในส่วนของ Template สำหรับการ Run Job สามารถใช้ได้ทั้งจาก Pre-built ที่มีให้ในระบบ (WorldCourt และ Cloud Pub/Sub to BigQuery) หรือเราสามารถสร้าง Customized Template เป็นแบบที่เราชอบได้อีกด้วย

 

ค่าบริการ

Google Cloud Platform ใช้ระบบ Pay-as-you-go หรือคิดบริการตามที่ใช้งานจริง ไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการล่วงหน้าหรือค่าธรรมเนียมในการยกเลิกบริการ อีกทั้งยังมีตัวช่วยอย่าง Google Cloud Pricing Calculator เพื่อใช้ในการคำนวณค่าบริการเบื้องต้น

 

ระบบรักษาความปลอดภัย

Google Cloud Platform มีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน และมีผู้เชี่ยวชาญคอยตรวจสอบให้อยู่ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีระบบที่สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงของข้อมูลอีกด้วย

 

ช่องทางการติดต่อ

สำหรับการติดต่อเพื่อขอความช่วยเหลือในส่วนของ Google Cloud Platform สามารถติดต่อได้ผ่านทาง https://cloud.google.com/contact โดยมี 2 ช่องทางให้เลือก ได้แก่ Chat หรือส่งคำร้องให้โทรติดต่อกลับ

 

ทดลองใช้ฟีเจอร์ฟรี

Google Cloud Platform มีฟีเจอร์มากกว่า 20 รายการที่สามารถให้เราไปทดลองใช้ฟรีโดยไม่การเก็บค่าบริการเพิ่มเติม สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 90-Day Free Trial - Google Cloud Platform (GCP)

 

Huawei Cloud

Huawei Cloud เป็นผู้ให้บริการ Cloud Platform จาก Huawei Technologies ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีจากจีนที่แตกต่างไปจากผู้ให้บริการอื่น ๆ เพราะให้ความสำคัญกับการให้บริการในตลาดภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ถือว่าเป็นผู้ให้บริการ Global Cloud รายแรกที่เปิดให้บริการในไทยโดยมีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง โดยมีฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจ เช่น Elastic Cloud Server (ECS), Object Storage Service (OBS) และ Data Ingestion Service (DIS) เป็นต้น

การที่ Huawei มาเปิดให้บริการ Cloud Platform ในประเทศไทยนั้น เรียกได้ว่าส่งผลดีต่อเราเป็นอย่างมาก เช่น ผู้ใช้งานในไทยจะมี Local Node, Local Compliance ที่รับรอง PDPA ของประเทศไทย, Local Service ที่มีทีม Support ให้บริการที่เป็นภาษาไทย และ Local Payment ที่รองรับการชำระค่าบริการโดยใช้สกุลเงินบาท ข้อดีเหล่านี้นอกจากจะช่วยทำให้ผู้ใช้บริการในประเทศไทยสามารถเชื่อมต่อแบบ Direct Connect ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เมื่อเทียบกับการใช้บริการ Cloud Platform ของผู้ให้บริการเจ้าอื่น

 

ฟีเจอร์และบริการที่น่าสนใจ

  1. Elastic Cloud Server (ECS) บริการคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใช้ทรัพยากรในการประมวลผล และสามารถปรับใช้ Application และ Workload ได้ตามความต้องการ

  2. Object Storage Service (OBS) บริการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่จำกัด อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังใช้งานง่าย ตอบโจทย์ผู้ไม่สันทัดเทคโนโลยี ผู้ใช้งานร่วมกันสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่โดยใช้ REST API

  3. Data Ingestion Service (DIS) บริการที่สามารถจัดเก็บ ประมวลผล และกระจาย Streaming Data ได้แบบ Real-time

 

ค่าบริการ

มีการเรียกเก็บค่าบริการ Cloud Platform หลายรูปแบบ และมีโปรแกรม Price Calculator เพื่อช่วยคำนวณค่าบริการเบื้องต้นก่อนใช้งานจริง

  • Pay-per-hour (จ่ายต่อชั่วโมง) โดยไม่ต้องชำระค่าบริการล่วงหน้า เพื่อตอบรับการใช้งานแบบยืดหยุ่น 

  • Pay Less with Longer Subscriptions (จ่ายน้อยลงด้วยการสมัครใช้งานที่นานขึ้น) ตอบโจทย์สำหรับปริมาณงานที่รู้ระยะเวลาคงที่ เพราะสมัครเมื่อสมัครใช้งานตามระยะเวลา สามารถประหยัดได้ถึง 50% เทียบกับค่าบริการแบบ Pay-per-use (จ่ายตามการใช้งานจริง)

 

ระบบรักษาความปลอดภัย

Cloud Platform ของ Huawei มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Huawei Cloud Infrastructure Security มีการป้องกันในส่วนของการจำกัดการเข้าถึงการควบคุมและการยืนยันตัวตน

 

ช่องทางการติดต่อ

เนื่องจาก Huawei มีฐานที่ตั้งในประเทศไทย จึงทำให้การติดต่อแผนก Support หรือ Sales ง่ายดายมากยิ่งขึ้น ในส่วนการสอบถามข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Cloud Platform สามารถโทรสอบถามได้ที่เบอร์ Hotline +66 2 028 1595 หรือกรอกฟอร์มได้ที่หน้าเว็บไซต์เพื่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องติดต่อกลับ

 

ทดลองใช้ฟีเจอร์ฟรี

Cloud Platform ของ Huawei  มีบริการทดลองใช้ฟรีสำหรับผู้ใช้ใหม่ โดยใช้งานได้ฟรีถึง 1,500 ชั่วโมง พร้อมอายุการใช้งาน 12 เดือน (เฉพาะผลิตภัณฑ์ที่จ่ายตามการใช้งานเท่านั้น) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อทำการลงทำการลงทะเบียนได้ที่
https://activity.huaweicloud.com/intl/en-us/free_packages/index.html

 

โดยสรุปแล้ว 4 ผู้ให้บริการ Cloud Platform ที่น่าสนใจสำหรับการบริหารข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตอย่าง AWS, Microsoft Azure, Google Cloud Platform และ Huawei Cloud เป็นผู้ให้บริการด้านคลาวด์เหมือนกัน เพียงแต่อาจจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของฟีเจอร์และค่าบริการ อาจเป็นการยากที่จะเปรียบเทียบว่าเจ้าไหนดีที่สุด เนื่องจากแต่ละเจ้าก็มีจุดเด่นแตกต่างกันไป โดยเราอาจจะเลือก Cloud Platform ที่คิดว่าตอบโจทย์ต่อการใช้งาน มีเครื่องมือครบครันและเหมาะสมกับขนาดองค์กรของเรามากที่สุด  เท่านี้ก็สามารถใช้งาน Cloud ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ที่สุดแล้ว

 

References:
Google Cloud

สร้าง Data Pipeline ด้วย Google Cloud

Dataflow in a minute

จัดหา Server ให้ Apps ของคุณง่าย ๆ ด้วย Google Compute Engine

สรุป Google Cloud Platform สำหรับทำ Big Data และ Machine Learning: ตอน 1) Compute

รู้ยัง #Huawei Cloud เปิดให้บริการ พร้อมตั้งศูนย์ข้อมูลเป็นรายแรกในไทย!!
01 Huawei Cloud Overview - Global Cloud in Thailand
Huawei Cloud

https://www.thaisharp.net/microsoft-azure-cloud-4-benefits/

https://aws.amazon.com/

https://azure.microsoft.com/en-us/

Written by
Fai Pimvipa
Fai Pimvipa

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

22
December, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
22 December, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
22
December, 2024
Preview email ด้วย Letter Opener
22 December, 2024
Preview email ด้วย Letter Opener
Letter Opener เป็น gem ของ ที่ใช้แสดงรูปแบบของอีเมลที่เราต้องการจะส่ง ก่อนที่จะส่งจริง เพื่อให้ง่ายและไวต่อการทดสอบ Let's Get started... Installation เพิ่ม Gem ใน Gemfile จากนั้นรัน `bundle install` # Gemfile group :development do gem "letter_opener" gem "letter_opener_web", "~> 1.0" end กำหนดการส่งอีเมลโดยใช้ letter_opener (กรณี Production จะใช้เป็น :smtp) # config/environments/development.rb config.action_mailer.delivery_method

By

3 mins read
Thai
22
December, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
22 December, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.