19Jun, 2020
ภาษา :
Thai
Share blog : 
19 June, 2020
Thai

UX Practice: ว่าด้วยเรื่องของ Form

By

6 mins read
UX Practice: ว่าด้วยเรื่องของ Form

UX (User Experience) แปลง่าย ๆ ว่า ประสบการณ์ผู้ใช้งาน แต่มันจะต้องมีสื่อกลาง หรือตัวกลาง คือ ผลิตภัณฑ์ (Product), บริการ (Service) หรือระบบ (System) เพื่อให้เกิดประสบการณ์นั้น ๆ แต่การออกแบบอะไรสักอย่างให้คนใช้งานง่ายนั้น ไม่ง่ายอย่างที่คิด และบางครั้งต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตลอดเวลาเพื่อให้ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนพฤติกรรมไปเรื่อย ๆ ซึ่งในบทความนี้จะขอใช้คำว่า User เพื่อสั้นและเร็วต่อการทำความเข้าใจนะครับ 

บทความนี้เราอยากพูดถึงการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับ User ในการกรอก/ใช้ form โดยมีตัวอย่างที่มีให้เห็นบ่อย และตัวอย่างที่ดี (กว่า) มาให้ดูกัน

Phone Number Form Fields

ตัวอย่างแรก แค่ช่องกรอกเบอร์โทรศัพท์ก็สร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานได้แล้ว เพราะถ้าเราให้คน 7,500 ล้านคนบนโลกนี้กรอกเบอร์โดยไม่มีการสร้าง format ไว้ ก็อาจจะทำให้ได้ input ที่ไม่ตรงความต้องการนัก และยังทำให้มีโอกาสที่ User จะเลิกกรอก(แบบงง ๆ ) แล้วออกจากแพลตฟอร์มนั้นไปได้เลย 

มีนักออกแบบ และนักพัฒนาพยายามจะแก้ปัญหาการกรอกผิดถูกนี้ ด้วยการทำตัวอย่างลงในแบบฟอร์ม โดยคิดว่าถ้ามีตัวอย่างแล้ว User น่าจะกรอกตามได้ไม่มีปัญหา… แต่ไม่ใช่ทุกคนจะทำตาม และก็ยังเกิดปัญหาเดิมคือ มีคนกรอกผิด ขึ้นข้อความเออเร่อ จนทำให้คนออกจากแพลตฟอร์ม...อีกแล้ว

แก้ยังไงดี?

Auto-formatting จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ครับ User ไม่ต้องกังวลหรือเดาว่าจะต้องใส่แบบไหนถึงจะถูก ระบบจะช่วยใส่วงเล็บ ขีด หรือข้อมูลอื่น(ที่ไม่ใช่เบอร์) ที่ User ลืมกรอกตามฟอร์แมตให้โดยอัตโนมัติ

Phone Number Form Fields

Birthday forms

ฟอร์มวันเกิด เป็นอีกฟอร์มที่มักสร้างความสับสนไม่มากก็น้อย และก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนเป็นหลักเป็นฐานสักเท่าไหร่ว่าแบบไหนคือมาตรฐาน เราอาจจะเคยเห็นฟอร์มทั้งแบบ DD/MM/YY,  DD/MM/YYYY หรือบางทีมีสลับเดือนให้งงอีก MM/DD/YYYY แต่บางประเทศปีมีหลายรูปแบบ อย่างบ้านเรา มีทั้ง ค.ศ. และ พ.ศ. ก็ต้องทำให้ชัดเจน

อย่าลืมว่า User มักมองข้ามตัวอย่างที่ให้ไว้ (โดยเฉพาะแบบที่ใส่ในช่อง input แล้วพอคลิก ตัวอย่างหายไป) แล้วแบบไหนจึงจะดี (กว่า)?

Birthday forms

แบบฟอร์มแต่ละแบบนั้น ถูกสร้างเพื่อการใช้งานที่แตกต่างกัน อย่างเช่นตัวอย่างข้างล่างนี้ การเลือกข้อมูลแบบ dropdown นั้นเหมาะกับข้อมูลน้อย ๆ หรือฟอร์มที่สามารถใส่ข้อมูลด้วยคีย์บอร์ด พอเอามาใช้กับวัน เกิด User ก็ต้องเลื่อนหาเลขตั้งเเต่ 1 - 31 เดือน 1-12 และปีอีกตั้งเท่าไหร่ไม่รู้ (แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว)

ในมือถือระบบแอนดรอยด์ ดูน่าใช้ สวยงาม แต่ก็ยังสร้างคำถามในการใช้งานว่า ต้องกดอะไรตรงไหน ยิ่งมือถือบางรุ่นจอเล็กก็อาจทำให้มองเห็นตัวเลขยากขึ้นอีก

แก้ยังไงดี?

งานออกแบบที่ดี ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน แบบฟอร์มสำหรับ User ก็เช่นกัน เราสามารถแยกช่อง วัน เดือน ปี พร้อมใส่ label เพื่อความชัดเจน ไม่ต้องเดาอีกต่อไป

 

Email confirmation

เหตุผลของการที่หลายคนเจอช่องฟอร์มที่ต้องกรอก 2 รอบเพื่อยืนยันความถูกต้องนั้น...มันก็ไม่ได้ช่วยเสมอไป เพราะ User ก็ยังใส่ข้อมูลผิดได้อยู่ดี มิหนำซ้ำ หลายคนคัดลอกข้อมูลช่องแรกมาใส่ช่องที่สอง เพื่อกันความถูกต้อง และขี้เกียจพิมพ์ใหม่ เป็นการเพิ่มขั้นตอนและเวลาเกินความจำเป็น 

แก้ยังไงดี?

เปลี่ยนจากการต้องใส่ข้อมูลซ้ำ ก็เหลือเพียงช่องเดียวให้กรอก และให้ระบบตรวจสอบฟอร์เเมตของอีเมลแทน ว่า User ใส่ @ หรือยัง ลืมใส่ . (จุด) หรือเปล่า ข้อความเออเร่อก็จะขึ้นเตือน ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ได้กับการยืนยันรหัสผ่านได้ด้วย

Email confirmation

Too bleak

จากตัวอย่าง แทบดูไม่ออกเลยว่าเป็น text field ให้ใส่ข้อมูลได้ เพราะมันดูกลืนไปกับพื้นหลังหรือสิ่งแวดล้อม ขนาดการใส่ขอบ (border) ยังแทบไม่ช่วยอะไร เพราะฉะนั้น สิ่งที่ควรปรับปรุงคือ การทำให้กล่องดูเด่นขึ้นมาจากพื้นหลัง และดูคลิกได้จริงด้วยสี และขอบ

Too bleak

Select menus 

Select menus เป็นอีกหนึ่งเมนูที่เป็นที่นิยมในการทำฟอร์ม แต่มันดีขนาดนั้นจริง ๆ รึเปล่า? อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานด้วยว่าเหมาะสมมั้ย แต่ที่แน่ๆ ไม่ควรใช้กับฟอร์มวันเกิด 

นักออกแบบทุกคน อยากให้สิ่งที่พวกเขาออกแบบนั้นตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานเท่าที่จะมากได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า หลายครั้งนักออกแบบคิดมากไปจนทำให้มองข้ามจุดประสงค์หลักคือต้องใช้งานง่ายที่สุด หรือบางกรณีก็คือ...ไม่ได้คิดเลย

ถ้ามีตัวเลือกน้อยกว่า 5 

ง่าย ๆ เลยคือเปลี่ยนจาก select menu มาเป็น radio buttons เอามากางแผ่ให้ดูเลย ลดเวลาที่ต้องกดเข้าไปดูแล้ว scroll เลือก 

Select menus

ยังมีอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับ form ที่เราสามารถปรับปรุงเพื่อประสบการณ์ที่ดีได้ หากใครมีเรื่องดี ๆ สามารถแนะนำเข้ามาได้ เรายินดีมาก ๆ แล้วมาติดตามอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning, Startup, Design, Software Development และ Management ทางได้ทุกวัน ที่ Senna Labs Blog นะครับ :) 

 

Reference: 

Bad Practices in UI/UX Design That You Should Avoid by Bradley Nice. 

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

บทความอื่นๆ

12
November, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
12 November, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี

By

3 mins read
Thai
12
November, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
12 November, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีก Google Fonts คืออะไร? (กันแน่) หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

By

4 mins read
Thai
12
November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
12 November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!ติดต่อเรา
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.