12Jan, 2021
ภาษา :
Thai
Share blog : 
12 January, 2021
Thai

Golden Ratio นำไปใช้กับ Logo อย่างไร

By

6 mins read
Golden Ratio นำไปใช้กับ Logo อย่างไร

ถ้าคุณอยู่ในวงการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็น Graphic design, UX/UI design, Interior design รวมถึงวงการศิลปะ การวาดภาพ ถ่ายภาพ งานสถาปัตยกรรม หรืออื่น ๆ แน่นอนว่า คุณจะต้องเคยได้ยินคำว่า สัดส่วนทองคำ หรือ ที่เรียกกันว่า Golden Ratio มาแล้ว

ในบทความนี้เราอยากจะให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพการนำ Golden Ratio ไปใช้ได้อย่างถูกหลักมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังรู้ได้ถึงการมีอยู่ของมันว่าจริง ๆ แล้ว Golden Ratio นั้น สามารถนำไปใช้ได้กับงานหลายรูปแบบที่มีการนำมาอย่างยาวนานแล้วไปด้วยกัน

Golden Ratio คืออะไร ทำไมชื่อนี้คุ้น ๆ 

ก่อนอื่นเราต้องมารู้ต้นกำเนิดของ Golden Ratio หรือสัดส่วนทองคำกันว่ามีมาตั้งแต่ 2,200 ปีก่อน โดยชาวกรีกชื่อ Euclid ซึ่งเป็นผู้คิดริเริ่มวิชาเรขาคณิต ในตอนแรกชื่อ Golden Ratio นั้นถูกเรียกว่า Extreme and Ratio โดย Euclid  มุ่งเน้นไปที่คณิตศาสตร์ไม่เน้นความสวยงามแต่มันกลับกลายเป็นว่านำมาใช้กับเรื่องของความสวยงามได้อย่างกลมกลืนแบบไม่น่าเชื่อ

Euclid

Euclid ชาวกรีกผู้ริเริ่มวิชาเรขาคณิต (Photo: Goodread.com)

 

หลักการและวิธีการทำ Golden Ratio 

Golden Ratio คือมาตราส่วนทางคณิตศาสตร์โดยใช้ลำดับ Fibonacci ซึ่งจะเริ่มต้นด้วย 0 และ 1 ซึ่งตัวเลขทั้ง 2 จะถูกรวมเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะสร้างหมายเลขลำดับถัดไป เช่น 0,1,1,2,3,5,8,13,21… ต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งจะมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 : 1.618 

Golden Ratio

(Photo : vmccom.com)

พอเรารู้ว่าวิธีการใช้และรูปแบบ เวเราจะลองเรียงการมีอยู่ของ Golden Ratio ในแต่ละช่วง Timeline ที่ผ่านมาว่า Golden Ratio นั้นแฝงอยู่กับอะไรบ้าง คงมีหลายอย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยล่ะ

เริ่มต้นตั้งแต่การมีอยู่ของโลกใบนี้

โดยปกติแล้ว เราอาจมองไม่ออกว่าสิ่ง ๆ นั้นมันคือ Golden Ratio แต่ในความเป็นจริงแล้วมันแฝงอยู่กับเราในทุก ๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ หรือแม้กระทั่งในอวกาศ ซึ่งพอได้เห็นภาพตัวอย่าง ด้านล่างนี้แล้วก็คงสามารถตอบคำถามข้อสงสัยของทุกคนในตอนนี้ได้

the golden ratio in nature

(Photo : jaejohns.com)

ไปอยู่กับงานศิลปะ ภาพวาดชื่อดังต่าง ๆ

แม้กระทั่งการนำไปใช้งานศิลปะภาพวาดก็มีให้เห็นได้อย่างชัดเจน อย่างเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ชาวอิตาลีที่เป็นได้ทั้งจิตรกร นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่นำ Golden Ratio มาใช้สร้างภาพวาดต่าง ๆ เมื่อ 400 ปีที่แล้วอย่าง The Last Supper และ Mona Lisa นั่นเอง 

การใช้ Golden Ratio ในภาพวาด The Last Supper (Photo: Katrate.net)

ภาพวาดอันเลื่องชื่อ Mona Lisa (Photo: Flickr.com)

แม้แต่สถาปัตยกรรมก็สามารถนำไปใช้ได้นะ

การนำไปใช้กับรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มีให้เห็นได้ชัดเจนอย่าง The Parthenon ที่ประเทศ Greek หรือแม้กระทั่ง The Orvieto Cathedral ที่ประเทศ Italy

วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ประเทศกรีซ (Photo: designbyday.com)

The Orvieto Cathedral ประเทศอิตาลี (Photo: imgflip.com)

Golden Ratio กับ Logo จะนำไปใช้ได้อย่างไร

ในปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ ก็ได้เริ่มนำมาตราส่วน Golden Ratio มาใช้ปรับแก้ Logo ของตนเองต่างๆ เพื่อเพิ่มความสมดุลและความกลมกลืนไปกับรูปทรงตามธรรมชาติ ได้ดีมากยิ่งขึ้นนั้นเอง ตัวอย่างเช่น Apple , Google , Twitter , Pepsi , Toyota และอื่น ๆ  ซึ่งเชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักแบรนด์ที่ได้ยกตัวอย่างมาบ้างไม่มากก็น้อย



Photo: Educator.com

Layout การนำไปใช้บน Website ก็เป็น Golden Ratio ได้

เรามาดูการนำ Golden Ratio มาบนเว็บไซต์กันบ้างว่ามันจะไปอยู่บนเว็บไซต์ได้อย่างไรกันนะ แต่คงไม่มีใครไม่รู้จัก Instagram แอปพลิเคชันสำหรับคนที่ชื่นชอบการถ่ายรูปลง Social Network หรือ National Geographic องค์กรด้านวิทยาศาสตร์และการศึกษาแห่งหนึ่งของโลก ที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่ก็ได้มีการใช้ Golden Ratio ในการช่วยจัดวาง Layout ให้มีความสวยงามแฝงอยู่

the golden ratio in web design

Photo: jaejohns.com

Golden Ratio

Photo: vmccom.com

เมื่ออ่านมาจนถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงจะเข้าใจหลักการ วิธีการคิด และเห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่าจริง ๆ แล้ว Golden Ratio นั้นอยู่ในทุกที่รอบ ๆ ตัวเรา แล้วควรจะเอาไปใช้ต่อยอดกับงานของเราได้อย่างไร ต่อไปใครพูดถึง Golden Ratio เราก็จะสามารถพูดคุยและเข้าใจในหลักการของมันได้ดียิ่งขึ้น ว่าสามารถนำไปใช้กับอะไรและทำให้งานของเรานั้นดีขึ้นได้อย่างไรกัน



แหล่งข้อมูลอ้างอิง 

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

บทความอื่นๆ

13
November, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
13 November, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี

By

3 mins read
Thai
13
November, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
13 November, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีก Google Fonts คืออะไร? (กันแน่) หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

By

4 mins read
Thai
13
November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
13 November, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!ติดต่อเรา
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.