ขั้นตอนการทำ Software Demo เมื่อจบ Sprint
หลังจากที่ตกลงทำซอฟต์แวร์กันเรียบร้อยแล้ว Project Manager จะเริ่มวางแผนการทำงานออกมาเป็น Sprint เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาและสิ่งที่จะส่งมอบได้อย่างชัดเจน ในแต่ละโปรเจกต์ เราจะแบ่งเป็น Sprint ละ 1-2 สัปดาห์ โดยเมื่อจบ 1 Sprint เราจะมีการนัดลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบเข้ามาประชุมเพื่อที่จะ Demo งานที่เราได้ทำให้เขาดูพร้อมกับรับ Feedback ตัวงานที่ทำลงไป
Demo คืออะไร
การ Demo เป็นเหมือนการรีวิวงานให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบได้เห็นภาพในกระบวนการทำซอฟต์แวร์ เราจะมีการนัดลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบเข้ามา Demo เพื่อที่จะได้ดูฟีเจอร์ที่ทางทีมพัฒนาได้ทำไว้ทุกครั้งที่จบ Sprint Cycle
ขั้นตอนการทำ Software Demo
-
นัดหมายวัน Demo กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบ เมื่อมีการแบ่งการทำงานออกเป็น Sprint แล้ว Project Manager จะรู้ว่าจะต้องมีการนัดลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบเข้ามาดู Demo วันไหนบ้าง หลังจากนั้นให้แจ้งกับลูกค้าว่าเราจะมีการนัด Demo ทุก ๆ กี่วัน และทำการลงปฏิทินไว้เพื่อนัดหมายเลย
-
Internal Demo เป็นการซ้อมภายในทีมก่อนที่จะไป Demo ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบจริงดู
-
-
Project Manager จะต้องทราบถึงรายละเอียดการ Demo ของรอบ Sprint นั้น ๆ ว่าจะมีฟีเจอร์ไหนที่เสร็จบ้าง หลังจากนั้นให้ List ตัวฟีเจอร์ที่จะต้อง Demo แล้ววางแผนการเล่น เพื่อที่ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบจะเห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย
-
ทางทีมพัฒนาระบบ (Developer) จะต้องแจ้งกับ Project Manager หากมีส่วนไหนที่ยังไม่พร้อมที่จะ Demo เพื่อที่ Project Manager จะได้วางแผนสลับเอาฟีเจอร์ที่พร้อมใช้งานมากกว่าเข้ามา Demo แทนก่อนก็ได้ เพราะว่าการ Demo ยังไม่ได้ถือเป็นการ UAT (User Acceptance Testing) ที่ทุกฟีเจอร์ต้องสามารถพร้อมใช้งาน เราจึงสามารถที่จะยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนแผนการ Demo ได้
-
ในการเล่นฟีเจอร์ให้ลูกค้าดูระหว่างการ Demo ทีม Developer หรือทีม Quality Assurance จะเป็นคนรัน Demo ให้ โดยทางทีมจะต้องเตรียมข้อมูลที่ใช้ในการ Demo ให้พร้อม เช่น Data ต่าง ๆ, Excel file, PDF File สำหรับการเล่นในระบบ แต่ Project Manager จะต้องสามารถตอบได้ว่าส่วนที่ Demo นั้น คือส่วนไหนของระบบ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับฟีเจอร์นั้น ๆ ด้วย
-
-
-
External Demo เป็นการเล่นตัวซอฟต์แวร์ในส่วนของฟีเจอร์ที่ทำเสร็จใน Sprint นั้น ๆ ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบดู
-
-
Project Manager แจ้ง Agenda ให้แก่ลูกค้าและผู้ใช้งานระบบว่าวันนี้จะมี Demo ฟีเจอร์ส่วนไหนของระบบบ้าง
-
ทีม Developer และทีม Quality Assurance เล่นฟีเจอร์ให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบดูตาม Flow ที่ได้เตรียมไว้กับ Project Manager
-
หากมีคำถามทางลูกค้าหรือผู้ใช้งานสามารถสอบถามระหว่างการ Demo หรือรอให้ถามทีเดียวตอน Demo เสร็จก็ได้
-
หากลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบมีติดขัดการใช้งานหรือต้องการปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่างหลังจากที่ได้ดู Demo ไปแล้ว Project Manager ต้องพึงระวังไว้ว่านั่นเป็นความผิดปกติของระบบจริง ๆ หรือเป็น Change Request (CR) ที่ลูกค้าเพิ่งคิดความต้องการนี้ออกมาภายหลังโดยอยู่นอกเหนือจาก Requirement ที่ตกลงกันไว้ตอนแรก
-
-
ข้อดีของการ Demo หลังจบ Sprint
-
ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบได้เห็นความคืบหน้าของโปรเจกต์ ว่าตอนนี้ทำไปถึงไหนแล้ว ยังเป็นไปตาม Timeline ที่ได้ตกลงกันไว้หรือไม่
-
ทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบสามารถเห็นภาพของซอฟต์แวร์ในแต่ละฟีเจอร์ได้อย่างชัดเจนว่า ฟีเจอร์ตัวนี้สามารถตอบโจทย์การทำงานอย่างที่ต้องการให้เป็นหรือไม่ หากมีความต้องการในการปรับเปลี่ยนส่วนใด ก็สามารถ Feedback เพื่อทำการแก้ไขได้เลยสำหรับส่วนที่อยู่ใน Scope แต่หากเป็นส่วนเพิ่มเติมจาก Requirement ที่ตกลงไว้ตอนแรกก็ต้องคุยกันให้เข้าใจว่าต้องทำเป็น Change Request (CR) โดยทางเราจะคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยประเมินตามความต้องการที่เพิ่มเข้ามา
-
ทีมพัฒนาระบบจะได้รับ Feedback เพื่อนำไปพัฒนาระบบต่อได้อย่างรวดเร็วใน Sprint ถัดไป ไม่ต้องรอไปจนจบโปรเจกต์แล้วค่อยกลับมาแก้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟีเจอร์หลักที่จะเป็นตัวส่งผลกระทบให้แก่ฟีเจอร์อื่น ๆ หากแก้ไขได้เร็วก็จะทำให้ทีมทำงานสามารถประหยัดเวลาลงไปได้
การทำ Demo จะช่วยทำให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานระบบสามารถมองเห็นความคืบหน้าของโปรเจกต์ รวมถึงหากมีสิ่งใดที่อยากให้ปรับเปลี่ยนระหว่างการทำโปรเจกต์ ทางทีมพัฒนาระบบก็จะได้รับ Feedback ที่สามารถนำไปทำงานต่อใน Sprint ถัดไปได้เลย ช่วยลดระยะเวลาและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ สำหรับใครที่กำลังทำซอฟต์แวร์อยู่ก็อย่าลืมนำการ Demo นี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ
References: