10Mar, 2020
Language blog :
Thai
Share blog : 
10 March, 2020
Thai

วิธีลด Development Cost ด้วย MVP ของ Startup

By

5 mins read
วิธีลด Development Cost ด้วย MVP ของ Startup

ทุกวันนี้ การมีธุรกิจของตัวเองยังคงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีบริษัท startup เกิดขึ้นใหม่ทุกวันทั่วโลก แต่มีจำนวนน้อยมากที่ประสบความสำเร็จ จึงเกิดคำถามที่ว่า จะทำยังไงให้เราโชคดีแบบนั้น คำตอบคือไม่มีความโชคดีใด ๆ ที่ช่วยคุณได้ คุณต้องทำงานหนัก ลงแรงเพื่อที่จะได้มันมา

เมื่อพูดว่าเป็น startup แล้วแน่นอนว่าทุกอย่างเริ่มจากศูนย์ เราจะยังไม่มีตลาดและกลุ่มลูกค้าที่แน่นอน เราจะต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เรารู้ว่าเราไปถูกทางได้เร็วที่สุด ซึ่งหนึ่งในนั้นที่หลายคนนิยมทำกันมานานแล้วก็คือ การทำ ​MVP

MVP คืออะไร

MVP ย่อมาจาก Minimum Viable Product คำนิยามของ MVP โดย Steve Blank และ Eric Ries คือ สินค้าที่มีเฉพาะฟีเจอร์ที่สามารถใช้วัดตลาดและกลุ่มลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยใช้กำลังและเวลาในการพัฒนาให้น้อยที่สุด ซึ่งวิธีการนี้ได้รับการรับรองแล้วว่าได้ผลจริงจากบริษัทใหญ่หลายบริษัทที่ก็ใช้ MVP เป็นจุดเริ่มต้นเช่นกัน

มาดูรูปตัวอย่างของคอนเซ็ปต์การทำ MVP กันบ้าง

Minimum Viable Product (MVP)
(Photo credit: interactiondesign.org)


จากรูปจะเห็นว่า แทนที่เราจะเลือกทำแบบภาพใหญ่ทีเดียว (มีครบทุกฟีเจอร์ตั้งแต่แรกแบบภาพบน) การเปลี่ยนมาทำแบบรูปล่าง (เริ่มจากเป็นสเก็ตบอร์ด แล้วค่อย ๆ ขยายจนเป็นรถยนต์) จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำสินค้าออกมาไม่ตอบโจทย์ของลูกค้าได้มากกว่า ลดเวลาในการพัฒนา ขายสินค้าได้เร็วขึ้น และได้รับ feedback จากลูกค้าเร็วขึ้น

เริ่มต้นการทำ MVP

การจะเริ่มทำ MVP สิ่งแรกที่ควรทำคือ ตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่ามีความต้องการของตลาดจริง

  • สินค้าที่เรากำลังจะพัฒนาทำมาเพื่อแก้ปัญหาอะไร
  • ใครคือกลุ่มคนที่มีปัญหานั้นอยู่ (กลุ่มลูกค้า)
  • แล้วปัญหานั้นใหญ่แค่ไหน 
  • ปัจจุบันกลุ่มคนเหล่านั้นแก้ปัญหากันอย่างไร
  • อะไรคือจุดเสี่ยงที่จะทำให้คนไม่ใช้สินค้า (เช่น กรณีของ AirBnb จะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ผู้คนจะยอมเสี่ยงให้คนแปลกหน้าเข้ามาพักในบ้านได้หรือไม่)

ขั้นตอนถัดไปคือ การหาฟีเจอร์ที่เป็น Must-have (จำเป็นต้องมี) และ Nice-to-have (มีก็ดี) ยกตัวอย่างเช่น เราต้องการจะเปิดร้านออนไลน์เพื่อขายจักรยานรุ่น Limited ฟีเจอร์ Must-have แรกที่ต้องมีคือลูกค้าต้องซื้อสินค้าได้ ส่วนฟีเจอร์ Nice-to-have ก็อาจจะเป็น การใช้งานส่วนลดหรือคูปองในเว็บไซต์ได้

ให้เราถามคำถามกับทุกฟีเจอร์ที่ต้องการใส่เข้าไปใน MVP ว่า เมื่อเอาเข้ามาแล้ว มันช่วย Validate ไอเดียของสินค้านั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจไดหรือไม่

เมื่อเราได้ฟีเจอร์ของ MVP ออกมาแล้ว สิ่งที่เหลือก็คือพัฒนามันออกมาแล้วคอยตรวจสอบ feedback จากลูกค้าเท่านั้น!

ยังไม่แน่ใจในไอเดียของตัวเอง หรืออยากได้คำปรึกษาในการทำ MVP ปรึกษาเราได้เลย!

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

30
June, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
30 June, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
30
June, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
30 June, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English
30
June, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
30 June, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.