Flow การทำงานของทีม QA (Quality Assurance) ในบริษัท Senna Labs
การทำงานของทีม QA ของแต่ละบริษัทจะมี Flow การทำงานที่แตกต่างกันออกไป ตามความเหมาะสมของแต่ละลักษณะงาน โดยบทความนี้จะมาแนะนำ Standard Flow การทำงานของ ทีม QA ของ Senna Labs ที่ดำเนินธุรกิจด้าน Software House ให้ได้ทราบกัน โดยจะแบ่งเป็น Phase ต่าง ๆ ดังนี้
Discovery - Software requirement
Flow การทำงานของทีม QA (Quality Assurance) ของ Senna Labs เริ่มจากการทำ Internal Kickoff ในขั้นตอนนี้ BD (Business Development) ที่ไปรับ Requirement จากลูกค้า จะนำเสนอ Project ให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมกับ Project นี้ ได้แก่ Developer, Designer, PM (Project Manager) และ QA ต่อมา ทุกคนในทีมจะทำความเข้าใจ Requirement Gathering Document ร่วมกับทีม ซึ่งได้มาจากการที่ BD เก็บ Requirement ครั้งแรกจากลูกค้าโดยเอกสารนี้จะกำหนดไว้หมดว่า Project นี้ต้องทำอะไรบ้าง
Discovery - Wireframe and UI
เมื่อทีม Designer ทำ User Journey เสร็จแล้วทีม QA จะร่วม Review และหารือเกี่ยวกับ User Journey หลังจากผ่านการ Review และ ทีม Designer ได้ออกแบบ Wireframe เรียบร้อยแล้ว ทีม QA จะเริ่มต้นเขียน User Flow Diagram สำหรับทุก Feature เมื่อ User Flow Diagram เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกคนในทีมจะ Review Wireframe และ User Flow Diagram ร่วมกัน ต่อมาทีม QA จะเริ่มการเขียน Test Case สำหรับทุก Feature และร่วม Review Design System และ UI กับทีม เมื่อขั้นตอนก่อนหน้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทีม QA จะเริ่มเขียน User Document
Development
เมื่อเริ่มต้นการพัฒนา Project ที่ QA จะเตรียม Test Case ตาม Sprint Goal ต่อมาในการ Sprint Grooming ทาง PM จะสร้าง Ticket ไว้ใน Backlog สำหรับ Sprint ต่อไป และทีม QA จะนำเสนอ User Flow Diagrams ที่แสดงถึงลำดับขั้นตอนการทำงานของ Feature ซึ่งจะช่วยให้ทีมมีความเข้าใจที่ชัดเจน และช่วยให้สามารถพัฒนา Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ เมื่อเริ่ม Sprint ในขั้นตอน Sprint Planning จะมีการจัดลำดับความสำคัญของ Ticket เพื่อใช้เรียงลำดับในการทำ Ticket โดยจะแบ่งเป็น Low, Medium และ High
ต่อมาในขั้นตอนการ Standup Meeting ของทุกวัน ทีม QA จะมีการตรวจสอบว่ามี Ticket ไหนเสร็จแล้วบ้าง และจะดำเนินการ Test ตาม Test Case ที่ได้เขียนไว้ หากพบข้อผิดพลาด ทีม QA จะสร้าง Ticket เพื่อแจ้งทีมให้แก้ไขต่อไป หากไม่มีข้อผิดพลาดจะย้าย Ticket ไปที่ Done เพื่อเตรียม Demo ต่อไป และทีม QA จะเตรียม Test Case ของ Feature ที่จะทำใน Sprint หน้า เมื่อจบแต่ละ Sprint จะมีการ Demo Feature ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว QA จะ Record video และ Take notes
ในขั้นตอนการ Demo ในขั้นตอนสุดท้ายของแต่ละ Sprint จะเป็นการ Retosprctive วิธีการคือให้สมาชิกในทีมแต่ละคนผลัดกันแบ่งปันประสบการณ์ Good และ Bad ที่เกิดขึ้นระหว่าง Sprint โดยจะมีการเลือก Bad มา Try เพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นใน Sprint ถัดไป แนวทางนี้ช่วยให้ทุกคนในทีมรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ร่วมมือกันแก้ไข และปรับปรุง ส่งผลให้ขั้นตอนการทำงานราบรื่นยิ่งขึ้น
Launch - User Acceptance Test
หลังจากการพัฒนา Software เสร็จเรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่ขั้นตอน User Acceptance Testing เมื่อมีการแก้ไขปรับปรุง Software ทีม QA จะมีการ ทำ Regression Test เพื่อหาข้อผิดพลาดในระบบ หากไม่มีข้อผิดพลาด PM นัดหมายกำหนดการทำ User Acceptance Testing ต่อไป ต่อมาทีม QA จะช่วย PM เขียน Flow ที่ใช้สำหรับ User Acceptance Testing และจะซ้อม User Acceptance Testing ตาม Flow ที่ได้กำหนดไว้ หากมีข้อผิดพลาดจะได้สามารถแก้ไขได้ทันกำหนดการเดิม จากนั้นจะดำเนินการซ้อม User Acceptance Testing ตาม Flow ใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าหากมีข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ทันกำหนดการ ทีม PM จะนัดหมายกำหนดการทำ User Acceptance Testing ใหม่อีกครั้ง เมื่อดำเนินการซ้อมเสร็จเรียบร้อยและไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ ทีม QA จะคอยสนับสนุน PM ในการทำ User Acceptance Testing และ Training ต่อไป
Launch - Maintenance
ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนการส่งมอบคือขั้นตอนการ Maintenance ในส่วนนี้ PM จะแจ้งทุกคนในทีมให้ทราบถึงระยะเวลาในการ Maintenance และข้อตกลงระดับการให้บริการ เมื่อระยะเวลาของการ Maintenance ผ่านไปครึ่งทางแล้ว ทีม QA จะดำเนินการ Run Test ทั้งระบบเพื่อหาข้อผิดพลาดและส่งให้ทีมแก้ไขต่อไป หากไม่มีข้อผิดพลาดหรือทีมได้แก้ไขเสร็จเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว ก็จะหมายถึงสิ้นสุดระยะเวลาของการ Maintenance ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการส่งมอบ Project ให้กับลูกค้าต่อไป