31May, 2021
Language blog :
Thai
Share blog : 
31 May, 2021
Thai

แนวคิด ‘Lean Startup’ สร้างความได้เปรียบให้บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไร?

By

7 mins read
แนวคิด ‘Lean Startup’ สร้างความได้เปรียบให้บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างไร?

หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ต้องเผชิญก็คือ “ทำ Software ไปแล้ว จะมีคนใช้หรือเปล่า” ในหลาย ๆ ครั้งที่บริษัทสตาร์ตอัปซอฟต์แวร์ (Startup) ต้องพบกับความล้มเหลว เมื่อ Software ที่ได้สร้างไปจนเสร็จสมบูรณ์นั้น ไม่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ และเพื่อลดความเสี่ยงให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรน้อยที่สุด (Waste) แนวคิด Lean Startup จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญให้กับหลาย ๆ บริษัทสตาร์ตอัปซอฟต์แวร์ในยุคปัจจุบัน

Lean Startup คืออะไร?

Lean Startup คือ การที่ Startup สร้างผลิตภัณฑ์โดยมุ่งเป้าไปที่ความต้องการของผู้บริโภคตลอดจนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development process) โดยลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่สำคัญ หรือฟีเจอร์ (Features) ที่ไม่จำเป็น เพื่อลดต้นทุน (Cost) ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน เวลา และแรงงานในการสร้างสิ่งที่ไม่จำเป็นในมุมมองของผู้บริโภค ซึ่งการที่จะนำหลักการ Lean Startup Methodology มาใช้ได้ จะต้องเข้าใจในมุมมอง และมี Insights ของ Users จึงจะสามารถนำมาพัฒนาได้อย่างตรงจุด

5 หลักการสำคัญของ Lean Startup

Principle of Lean Startup

1. Entrepreneurs are Everywhere

ไม่ว่าขนาด Startup ของคุณจะเล็ก หรือใหญ่ หรือห้องทำงานของคุณจะเป็นออฟฟิศ ห้องนอน หรือโรงรถ ถ้าคุณมีสตาร์ตอัป คุณก็คือผู้ประกอบการ 

2. Entrepreneurship is a management

การจะเป็น Startup ไม่ใช่แค่มี Product แล้วจะประสบความสำเร็จได้ Startup เป็นจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีด้วย

3. Validated learning

การที่ Startup จะอยู่รอดในยุคปัจจุบันได้ ไม่ใช่เพียงมีสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ หรือแก้ไขปัญหาต่างๆจากลูกค้าได้ แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะทำธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยมีผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์รองรับ นั่นหมายถึง มีการตั้งสมมติฐาน ทำการทดลอง และนำผลการทดลองไปใช้ในการตัดสินใจในอนาคต เพื่อมุ่งไปสู่วิสัยทัศน์ (Vision) ที่บริษัทต้องการ ผ่านการตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด

4. Innovation accounting

ผู้ประกอบการของธุรกิจ Startup มีหน้าที่ในการวัดผลการดำเนินงาน ตั้งเป้าหมายต่าง ๆ และ KPI รวมไปถึงเรียงลำดับความสำคัญของงาน เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปได้อย่างราบรื่น

5. Build-Measure-Learn Feedback Loop

หัวใจสำคัญของ Lean Startup ก็คือ “Build-Measure-Learn Feedback Loop” ซึ่งผู้ประกอบการ Startup จะต้องเข้าใจในวัฏจักรของการสร้าง-การวัดผล-การเรียนรู้ และสามารถลงมือทำตามลูปนี้ได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถตีตลาดได้โดยไม่ต้องเสียเวลานานในการสร้าง โดยมุ่งไปที่ความสามารถในการปฏิบัติตามลูปนี้อย่างรวดเร็วที่สุด

Build-Measure-Learn Feedback Loop

Build-Measure-Learn Feedback Loop 

5.1 Build (การสร้าง)

เมื่อผู้ประกอบการหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้ไอเดียใหม่และตัดสินใจที่จะสร้างซอฟต์แวร์แล้ว ควรพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นโดยเร็วที่สุด เพื่อให้สามารถปล่อยผลิตภัณฑ์นั้นออกสู่สาธารณะให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อดู Feedback จากผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์ที่นำออกมาใน Phrase นี้ ไม่จำเป็นจะต้องมีฟีเจอร์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน หรือเสียเวลากับการพัฒนาฟีเจอร์ที่ไม่ได้สำคัญ ขอแค่สามารถตอบโจทย์ Pain point หลักของ Potential users ได้ เพราะความสำคัญของขั้นตอนนี้คือ การนำผลิตภัณฑ์มาทดลองตลาด และนำเอา Feedback ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อนั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ที่นำออกมา อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) โดยที่ยังคง Concept ของ Minimal Viable Product (MVP) นั่นก็คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีฟีเจอร์น้อยที่สุด แต่ยังคงฟีเจอร์ที่สำคัญที่สามารถนำมาประเมินตลาดได้ แต่ไม่ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์ในส่วนที่ไม่จำเป็น

5.2 Measure (การวัดผล)

ขั้นตอนการวัดผลเป็นขั้นตอนที่จะได้มาซึ่งข้อมูล (Data) และความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อซอฟต์แวร์ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของการทดลอง เพื่อดูว่าผลการทดลองตลาดเป็นไปตามที่ตั้งไว้หรือไม่ รวมไปถึงการสอบถามความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อความเป็นไปได้ในตลาด (Feasibility) นอกเหนือจากความคิดเห็นต่อการใช้งาน อย่างเช่น หากมีการวางขายจะมีคนซื้อซอฟต์แวร์หรือไม่ เพราะเหตุใด เพื่อที่จะนำข้อมูล  Insights ที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ต่อ

5.3 Learn (การเรียนรู้)

นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินตลาดมาวิเคราะห์และสรุปผล และนำข้อมูลที่ย่อยแล้วเหล่านั้นมาคิดต่อ จนเกิดเป็นไอเดียต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้

“Build-Measure-Learn Feedback Loop” จะยังคงดำเนินการวนไปเรื่อย ๆ เพื่อให้มีการสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่สมบูรณ์มากขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้

จะเห็นได้ว่า แนวคิด Lean Startup จะเข้ามาช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ตรงกับความต้องการของตลาด และมีโอกาสที่จะสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเน้นที่ความรวดเร็วของขั้นตอนต่างๆ และลดการใช้ทรัพยากรกับส่วนที่ไม่จำเป็น  หากสนใจเกี่ยวกับ Lean Startup สามารถอ่านต่อได้ที่หนังสือ The Lean Startup ของ Eric Ries หรือสนใจรับคำปรึกษาในการพัฒนาธุรกิจ สามารถติดต่อ Senna Labs ได้ทันที

 

ที่มา

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

25
July, 2024
JS class syntax
25 July, 2024
JS class syntax
เชื่อว่าหลายๆคนที่เขียน javascript กันมา คงต้องเคยสงสัยกันบ้าง ว่า class ที่อยู่ใน js เนี่ย มันคืออะไร แล้วมันมีหน้าที่ต่างกับการประกาศ function อย่างไร? เรามารู้จักกับ class ให้มากขึ้นกันดีกว่า class เปรียบเสมือนกับ blueprint หรือแบบพิมพ์เขียว ที่สามารถนำไปสร้างเป็นสิ่งของ( object ) ตาม blueprint หรือแบบพิมพ์เขียว( class ) นั้นๆได้ โดยภายใน class

By

4 mins read
Thai
25
July, 2024
15 สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องรู้เกี่ยวกับ 5G
25 July, 2024
15 สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องรู้เกี่ยวกับ 5G
ผู้ให้บริการเครือข่ายในสหรัฐฯ ได้เปิดตัว 5G ในหลายรูปแบบ และเช่นเดียวกับผู้ให้บริการเครือข่ายในยุโรปหลายราย แต่… 5G มันคืออะไร และทำไมเราต้องให้ความสนใจ บทความนี้ได้รวบรวม 15 สิ่งที่ทุกธุรกิจต้องรู้เกี่ยวกับ 5G เพราะเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามันกำลังจะถูกใช้งานอย่างกว้างขวางขึ้น 1. 5G หรือ Fifth-Generation คือยุคใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่จะมาแทนที่ระบบ 4G ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันไม่ได้ถูกจำกัดแค่มือถือเท่านั้น แต่รวมถึงอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ 2. 5G คือการพัฒนา 3 ส่วนที่สำคัญที่จะนำมาสู่การเชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สายต่างๆ ขยายช่องสัญญาณขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มความเร็วในการเชื่อมต่อ การตอบสนองที่รวดเร็วขึ้นในระยะเวลาที่น้อยลง ความสามารถในการเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่า 1 ในเวลาเดียวกัน 3. สัญญาณ 5G นั้นแตกต่างจากระบบ

By

4 mins read
Thai
25
July, 2024
จัดการ Array ด้วย Javascript (Clone Deep)
25 July, 2024
จัดการ Array ด้วย Javascript (Clone Deep)
ในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าภาษาที่ถูกใช้ในการเขียนเว็บต่าง ๆ นั้น คงหนีไม่พ้นภาษา Javascript ซึ่งเป็นภาษาที่ถูกนำไปพัฒนาเป็น framework หรือ library ต่าง ๆ มากมาย ผู้พัฒนาหลายคนก็มีรูปแบบการเขียนภาษา Javascript ที่แตกต่างกัน เราเลยมีแนวทางการเขียนที่หลากหลาย มาแบ่งปันเพื่อน ๆ เกี่ยวกับการจัดการ Array ด้วยภาษา Javascript กัน เรามาดูตัวอย่างกันเลยดีกว่า โดยปกติแล้วการ copy ค่าจาก value type ธรรมดา สามารถเขียนได้ดังนี้

By

4 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.