26Oct, 2020
Language blog :
Thai
Share blog : 
26 October, 2020
Thai

วิเคราะห์ธุรกิจคู่แข่งด้วย Competitor Analysis

By

1 mins read
วิเคราะห์ธุรกิจคู่แข่งด้วย Competitor Analysis

ธุรกิจคือสงคราม

คำพูดที่ว่า “ธุรกิจคือสงคราม” ดูจะเป็นคำพูดที่ยากที่จะปฏิเสธ เนื่องด้วยสินค้าหรือบริการในแต่ละประเภทไม่ได้ถูกผูกขาดทางการค้า แต่ยังคงมีบริษัท ห้างร้านอื่น ๆ มากหน้าหลายตาที่ขายสินค้า หรือให้บริการสิ่งเดียวกันกับธุรกิจของคุณ ดังนั้นแล้วทุกธุรกิจย่อมต้องมีการแข่งขันเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไปในตลาดได้

การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis) ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการพัฒนาธุรกิจที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจ และนำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมและสภาพแวดล้อมของธุรกิจ สภาวะการแข่งขัน และจำนวนคู่แข่งในการตลาด

ทว่ามีผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านที่มักจะละเลยการวิเคราะห์คู่แข่งก่อนที่จะทำธุรกิจ เพียงเพราะว่า พวกเขาคิดว่า “เราไม่ต้องสนใจคู่แข่งหรอก แค่ทำของเราให้ดีก็พอแล้ว” “ของของเราดีกว่าของเจ้าอื่นอยู่แล้ว จะไปสนใจทำไม” “ไว้มีเวลาว่างค่อยมาวิเคราะห์ก็แล้วกัน” ทว่าการคิดแบบนี้อาจจะทำให้เจ้าของกิจการเหล่านั้นพลาดข้อมูลที่สำคัญไป

ในความเป็นจริง การวิเคราะห์คู่แข่งขัน ไม่ใช่แค่การเอาชนะ หรือ การแย่งลูกค้ามาจากเจ้าอื่น แต่ในอีกมุมหนึ่ง การวิเคราะห์คู่แข่งขันจะทำให้เราสามารถรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ กล่าวคือได้เห็นข้อผิดพลาดของคู่แข่ง รู้ว่าเขาทำอะไรไม่ดี เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา อีกทั้งยังทำให้เราสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและสร้างจุดขายที่แตกต่างจากเจ้าอื่น ๆ ในตลาดได้

การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)

การทำการวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis) มีรายละเอียดที่ค่อนข้างลึกและจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการทำ อีกทั้งยังมีวิธีการที่แตกต่างกันไปหลายวิธี ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนได้เลือกวิธีการทำการวิเคราะห์คู่แข่งออกมา เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. รวบรวมรายชื่อคู่แข่งทั้งหมดในตลาด

โดยสามารถทำได้ง่าย ๆ ผ่านการระดมสมองภายในทีม หรือแม้กระทั่งค้นหาผ่าน google ว่ามีใครบ้างที่เป็นคู่แข่งของธุรกิจของเรา ทั้งคู่แข่งหลัก คู่แข่งรอง รวมไปถึงคู่แข่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

2. แยกประเภทคู่แข่งขัน

โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งคู่แข่งขันออกเป็น 2 ประเภท

2.1 คู่แข่งขันทางตรง (Direct Competitor)

วิธีการดูว่าใครเป็นคู่แข่งขันทางตรงง่าย ๆ ก็คือการดูว่า สินค้าและบริการที่เขาผลิตออกมานั้น ทับซ้อนกับของเราหรือไม่ และมีราคาใกล้เคียงกันหรือไม่ หรือพูดอีกนัยนึงว่าอยู่ในตำแหน่งและตลาดเดียวกัน

2.2 คู่แข่งขันทางอ้อม (Indirect Competitor)

คือคู่แข่งขันที่ขายสินค้าและบริการแตกต่างจากเรา แต่จะจับกลุ่มลูกค้าใกล้เคียงกัน หรืออาจจะขายสินค้าและบริการประเภทเดียวกันหรือคล้ายกับเรา แต่ราคาและกลุ่มลูกค้าต่างจากเรา

Competitor Analysis

Reference: manychat.com

3. วิเคราะห์กลยุทธ์และความสามารถของคู่แข่ง

โดยการวิเคราะห์คู่แข่งขันจำเป็นต้องมองในหลากหลายมุม ไม่ว่าจะเป็น วิสัยทัศน์ เป้าหมาย คุณค่า หรือแม้กระทั่งอัตลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity) เช่น โลโก้ การใช้สี การใช้ตัวอักษร เป็นต้น และนำข้อมูลเหล่านั้นมาใส่ในตารางอย่างง่าย เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ โดยข้อมูลที่มีควรประกอบไปด้วย

    • กลยุทธ (จุดมุ่งหมาย/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/คุณค่า)
    • ภาพลักษณ์ (Look & Feel) เป็นอย่างไร
    • คุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ (Value Proposition)
    • Tagline: ข้อความ statement สั้น ๆ ที่ช่วยระบุคุณลักษณะของบริษัทหรือสินค้า
    • สินค้าและบริการ
    • ลักษณะของลูกค้า (Persona)
    • พวกเขาพูดคุยกับลูกค้าอย่างไร
    • จุดแข็ง / จุดอ่อน
    • ความเหมือน / ความต่าง
    • อุปสรรค
    • ช่องทางการตลาด
    • ช่องทางการสื่อสาร
    • ช่องทางการทำโฆษณา
    • ช่องทางการขาย
    • รายได้
    • อื่น ๆ

4. วิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง

ดังคำกล่าวในตำราพิชัยสงคราวของซุนวูที่กล่าวว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” นอกเหนือจากการวิเคราะห์คู่แข่งขันแล้ว การวิเคราะห์ธุรกิจของตัวเองก็มีความสำคัญเป็นอยางยิ่ง เพื่อที่จะทำให้เราได้ทราบว่า ในแต่ละหัวข้อเรามีอะไรโดดเด่น หรือ ด้อยกว่าคู่แข่ง เพื่อที่จะทำให้เราวางกลยุทธ์และหาจุดที่เรามีศักยภาพในการแข่งขัน อีกทั้งทราบว่าจุดไหนคือโอกาสในการแข่งขัน และจุดไหนที่ไม่ควรเข้าไปแข่งขัน ทั้งนี้เครื่องมือ SWOT Analysis ก็ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทำให้เราเข้าใจธุรกิจของตนเองได้เป็นอย่างดี

SWOT

5.กำหนดจุดเด่นที่แตกต่างของตัวคุณ

จุดเด่นที่ไม่เหมือนคู่แข่ง จะต้องเป็นจุดที่มีศักยภาพในการทำตลาด โดยเราสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Unique Value Proposition ในการวิเคราะห์ หรืออาจใช้ Positioning Chart เพื่อช่วยในการวางตำแหน่งของแบรนด์หรือธุรกิจในตลาด (Brand Positioning) โดยการวางตำแหน่งจะช่วยทำให้เราได้เห็นว่าเราควรจะทำการสื่อสารการตลาดและเน้นจุดขายของสินค้าและบริการเราอย่างไร

Unique Value Proposition

การวิเคราะห์คู่แข่ง ถือเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการทำธุรกิจ เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของเราอยู่รอดต่อไปในตลาดได้ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจ คู่แข่งขัน มิใช่คู่แค้น เพราะฉะนั้นเราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฆ่าฟันให้เขาล้มหายตายจากไป เพราะคู่แข่งในวันนี้อาจจะเป็นคู่ค้าของเราในวันหน้าก็เป็นได้

Reference: corporatefinanceinstitute.com

 

References:

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

26
July, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
26 July, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
26
July, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
26 July, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English
26
July, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
26 July, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.