16Oct, 2020
Language blog :
Thai
Share blog : 
16 October, 2020
Thai

5 Go-to-Market Strategies Checklists ที่เจ้าของแพลตฟอร์มควรสนใจ

By

7 mins read
5 Go-to-Market Strategies Checklists ที่เจ้าของแพลตฟอร์มควรสนใจ

มีของดี แต่ทำไมคนไม่รัก? อย่างแรกคือ คุณจะมั่นใจได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นดีจริง ในสายตาของผู้สร้างย่อมมองมันดีกว่าความเป็นจริงเสมอ ทั้งที่ผู้ใช้งานอาจจะคิดอีกอย่างก็เป็นได้ อีกกรณีที่ของนั้นดีจริงแต่กระแสตอบรับไม่ดี สาเหตุอาจเกี่ยวข้องตั้งแต่ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การตั้งราคา การบริการลูกค้า ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การปล่อยผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดที่ประสบความล้มเหลว มักมีสาเหตุร่วมจากการที่เจ้าของผลงานไม่เข้าใจใน 2 สิ่งนี้ คือ

1. ความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อสินค้าหรือบริการของเรา

2. แรงจูงใจซื้อ

ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงวิธีสร้างการยอมรับการใช้งานของผู้ใช้ (User Adoption) ที่จะมาช่วยเราตอบคำถามสองประเด็นข้างต้น

การเปิดรับสิ่งใหม่ของคนแต่ละประเภทที่ไม่เท่ากัน

เราขอหยิบยกทฤษฎีการแพร่กระจายของนวัตกรรม หรือที่เรียกว่า Diffusion of Innovation โดย Everette Roger มาอธิบาย เขาได้แบ่งพฤติกรรมผู้บริโภคออกเป็น 5 กลุ่มดังต่อไปนี้ 

Product Adoption Curve

(Reference: recirclerecycling.com)

1. ผู้บุกเบิก (Innovators)

กลุ่มคนที่รับรู้ถึงข่าวสารวงในก่อนใคร มีความกระตือรือร้นจะใช้ของใหม่ ชอบความเสี่ยงไม่ชอบตามใคร ต้องการเป็นผู้นำ ชอบลองสิ่งใหม่ ๆ

2. ผู้ล้ำสมัย (Early Adopters)

กลุ่มที่เป็นผู้นำทางความคิดในกลุ่มของพวกเขา เปิดรับสิ่งใหม่ ยอมจ่ายในราคาสูง เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราเป็นผู้นำเทรนด์ ต่างจากผู้บุกเบิกตรงที่แรงจูงใจอาจจะไม่เท่ากับกลุ่มแรก

3. ผู้นำสมัย (Early Majority)

กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่มีความเลือกซื้อ รอบคอบในการทดลองสิ่งใหม่ คำนึงถึงความคุ้มค่าและความปลอดภัยเป็นหลัก แต่หากรู้สึกมั่นใจในสินค้าใหม่ระดับหนึ่งแล้ว จะพร้อมตัดสินใจซื้อ ซึ่งคนกลุ่มนี้นี่เองที่เป็นฐานลูกค้าสำคัญของแบรนด์

4. ผู้ตามสมัย (Late Majority)

กลุ่มคนพวกนี้จะรอให้กลุ่มแรก ๆ ได้พิสูจน์สินค้าหรือบริการไปก่อน จนเห็นว่าตลาดมีกระแสตอบรับที่ดีมากพอ และเริ่มมีตัวเลือกเข้ามาแข่งขันในตลาดจนราคาเริ่มถูกลง กลุ่มคนเหล่านี้จึงค่อยตัดสินใจซื้อ

5. กลุ่มล้าหลัง (Laggards)

กลุ่มที่ยึดติดกับสิ่งเดิม มักเต็มไปด้วยข้อสงสัยในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ และจะยอมรับสิ่งใหม่ได้ช้าที่สุด

ทั้ง 5 กลุ่มนี้มีสไตล์การเปิดรับสิ่งใหม่ที่ต่างกัน จะเห็นได้ว่าผู้บุกเบิก (Pioneer) นั้นมีเพียง 2.5% เป็นคนส่วนน้อยที่กล้าลองสิ่งใหม่ เป็นผู้ริเริ่มคนสำคัญที่กล้าลองผิดลองถูก และเริ่มผลักดันให้กลุ่มผู้ล้ำสมัย (Early Adopter) ที่มีจำนวนมากกว่าถึง 6 เท่าได้เปิดรับตาม ความสำคัญของคนกลุ่มนี้คือการเป็นกระบอกเสียงช่วยผลักดันให้คนส่วนใหญ่ทั้งกลุ่มผู้นำสมัย (Early Majority) และผู้ตามสมัย (Late Majority) ให้หันมาสนใจตาม ๆ กัน ดังนั้นหากต้องการตีตลาดให้สำเร็จกุญแจสำคัญก็คือการเจาะกลุ่มผู้ล้ำสมัย (Early Adopter) หรือ “ผู้ซื้อที่จะช่วยบอกต่อ” ให้ถูกจุด

5 Checklists ที่ต้องมีก่อนเจาะตลาดผู้ล้ำสมัย (Early Majority)

1. สัมภาษณ์กลุ่มลูกค้าหากลุ่มคนที่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาในเรื่องที่เราต้องการจะแก้

ถามเพื่อให้เข้าใจขั้นตอนการแก้ปัญหาของผู้ถูกสัมภาษณ์ เช่น ความถี่ในการทำสิ่งนั้น บ่อยแค่ไหน ถ้าน้อยมาก นั่นแปลว่าอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายของคุณ หรืออาจถามถึงเครื่องมือ ตัวช่วยที่ใช้จัดการปัญหานั้น ๆ ช่วยได้อย่างไรบ้าง ชอบไม่ชอบ ตรงไหนอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำถามแบบชี้นำ เช่น ไม่ชอบทำ...แบบนี้ใช่ไหม เพราะทำให้ผู้ฟังคล้อยตาม อาจทำให้เราพลาดคำตอบที่แท้จริง

2. คุณมั่นใจแค่ไหนว่ากลุ่มที่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาพร้อมที่จะจ่ายเงิน

เราสามารถวัดเรื่องนี้ได้จากการสอบถามเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นแบบสอบถามหรือสัมภาษณ์ก็ตาม เราควรถามเพื่อพิสูจน์และหากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงให้เจอ เช่น การถามให้รู้ถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหา เขาได้ทุ่มเทเวลาและความพยายาม หรือใช้จ่ายไปกับเรื่องนั้น ๆ มากน้อยขนาดไหน หากเขามีปัญหาจริง แต่ไม่ได้ลงทุนกับอะไรเลย นั่นแปลว่าเขาไม่ใช่ลูกค้าของเรา

3. ทำความเข้าใจวิธีการการตัดสินใจเลือกซื้อของลูกค้า

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากในการดึงความสนใจจากกลุ่มผู้ล้ำสมัย (Early adopter) คือคนเหล่านี้ไม่ชอบซ้ำใคร ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการตลาดแบบโจ่งแจ้ง แต่ควรทำให้มีความพิเศษ หันมาใช้กลยุทธ์การตลาดแบบรู้ใจ (Personalized marketing) ส่วนเรื่องราคาไม่มีผลมากนักกับคนกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าหากแพงหูฉี่ ไม่สมเหตุสมผลก็อาจทำให้ผู้ล้ำสมัยเปลี่ยนใจ หันไปหาตัวเลือกอื่นในตลาดได้เช่นกัน

 

4. สร้างจุดเด่นให้สินค้าและบริการของเรามีความแตกต่าง

อย่างที่รู้กันว่าคนกลุ่มนี้ไม่ชอบความธรรมดา เราจึงต้องสื่อสารความพิเศษที่แตกต่างจากคู่แข่งให้ชัดเจน หากเป็นผลิตภัณฑ์ก็ควรเขียนระบุให้ผู้บริโภคเห็นจุดเด่นได้ชัด สำหรับบริการในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เป็นแพลตฟอร์มอาจสื่อสารผ่านการทำ Email marketing ให้คนเฉพาะกลุ่ม มอบสิทธิพิเศษต่าง ๆ ทำให้ผู้รับรู้สึกว่าตัวเองจะได้เป็นผู้นำเทรนด์หากได้ครอบครองก่อนใคร

5. ระบุช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

เราไม่มีทางรู้ได้ก่อนว่า จะใช้ช่องทางไหนในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง หากเรายังไม่รู้ว่าเขาคือใคร เป็นคนประเภทไหน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ สร้างลิสต์ของพฤติกรรมที่คาดว่ากลุ่มเป้าหมายของเราน่าจะมี พร้อมทั้งตั้งข้อสันนิษฐานดูว่า เราจะหาข้อมูลหรือสังเกตสิ่งเหล่านั้นได้จากที่ไหนบ้าง จากนั้นระบุช่องทางทั้งออนไลน์ และโลกจริงว่าพฤติกรรมที่สัมพันธ์ดังกล่าวน่าจะอยู่บนช่องทางไหนสุดท้ายเมื่อได้ข้อสมมุติทั้งหมดให้เริ่มทดลองหาตามช่องทางต่าง ๆ ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มเป้าหมายของเราคือ game caster/idol สาวสวย พฤติกรรมที่เขาน่าจะต้องทำเพื่อหารายได้เพิ่มคือ Cast game และ PR ตัวเอง แพลตฟอร์มที่ใช้เช่น Twitch, Facebook page หรือ Facebook  group ดังนั้นเราสามารถเข้าถึงกลุ่มนี้ได้ผ่านการใช้ช่องทางดังกล่าว เป็นต้น

ติดตามอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning, Startup, Design, Software Development และ Management ทาง Senna Labs Blog ได้ทุกวัน

_____

อ้างอิงจาก

- Diffusion of Technologies

- How To Identify Your Startup Early Adopters by Abdo Riani, Forbes.

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

25
July, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
25 July, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
25
July, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
25 July, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English
25
July, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
25 July, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.