Telemedicine: ทางเลือกใหม่ในการหาหมอ
เวลาป่วยหรือรู้สึกไม่สบายเราก็ต้องการพบแพทย์ เมื่อไปถึงโรงพยาบาลกว่าจะต่อคิวได้ในแต่ละครั้ง กว่าจะได้เข้าตรวจกับแพทย์ กว่าผลตรวจจะออกในแต่ละครั้ง จนกระทั่งชำระค่าบริการ เรามักใช้เวลาทั้งวันอยู่แต่ที่โรงพยาบาลจนเราไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้เลยในวันนั้น จนบางครั้งเมื่อเรารู้สึกป่วยอีกครั้ง เราก็ไม่อยากไปโรงพยาบาลหรือไม่มีเวลาที่จะไปพบแพทย์ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Telemedicine
หลายๆคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้อาจจะเริ่มสงสัยว่า “TeleMedicine” คือไร แล้วจะมีประโยชน์กับเรายังไงบ้าง
Telemedicine คือ การให้บริการด้านสาธารณสุขกับประชาชน โดยบุคลากรทางการแพทย์ให้บริการผ่านทางเทคโนโลยี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันโรค โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ ซึ่งในภาษาไทยจะเรียกว่า โทรเวชกรรม หรือระบบแพทย์ทางไกล
Telemedicine กำลังจะเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนแปลงวิธีการให้บริการด้านสุขภาพในชีวิตประจำเรามากขึ้น ทุกวันนี้ในทวีปเอเชียของเราเริ่มมีผู้คนหลายพันล้านคนใช้Telemedicineแล้ว การใช้บริการนี้เพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19 และจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่า Telemedicine จะมีมูลค่าประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์จนถึงปี 2568 เพื่อให้ตอบโจทย์ต่อการรักษาในช่วงเวลาเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ Telemedicine ที่เพิ่มสูงขึ้นนั่น มีสาเหตุมาจากปัจจัยเหล่านี้: 1) ความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในการใช้ telehealth 2) ความเต็มใจของผู้ให้บริการที่เพิ่มขึ้นในการใช้ telehealth 3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมทำให้สามารถเข้าถึงบริการได้ง่ายมากขึ้น ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้ telehealth ได้เป็นเหมือนสะพานเชื่อมในการดูแลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย โดยมีเป้าหมายในการเข้าถึงการรักษาพยาบาล และความสามารถในการบริการที่ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการรักษาแบบ Telemedicine
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ไกลโรงพยาบาล
- อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในเรื่องของการเดินทาง ประหยัดเวลาในการรอคิว
- สามารถเข้าถึงการตรวจรักษาและวินิจฉัยจากแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวสามารถติดตามการรักษาได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ
- ช่วยให้ผู้ป่วยลดระยะเวลาในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
- เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางการแพทย์ สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และคำแนะนำจากแพทย์ได้โดยตรง
- จัดเก็บข้อมูลการรักษาอย่างเป็นระบบ
แล้วเทคโนโลยี Telemedicine นี้สามารถทำอะไรได้บ้าง?
- ได้รับคำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สามารถวินิจฉัยสุขภาพโดยการพูดคุย และสอบถามอาการผู้ป่วย ผ่าน Video conference เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย
- ให้ข้อมูลสุขภาพ หรือให้คำปรึกษาโรค โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือปรึกษาออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญได้
- เรียนรู้ทางการแพทย์ โดยระบบจะทำหน้าที่รวบรวมความรู้ ให้ผู้ใช้สืบค้นข้อมูลหรือเผยแพร่ข้อมูลความรู้ได้ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ให้กับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้ เริ่มมีไอเดียอยากจะมี application เป็นของตัวเองแต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง เราก็มีเคล็ดแต่ไม่ลับมาแนะนำให้กับทุกคน
- Collecting necessary information and creating user stories
อย่างที่เราทราบกันว่าผู้คนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล มีทั้งทุกเพศและทุกวัย ดังนั่น การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ในการทำความรู้จักผู้ใช้ปลายทาง สิ่งสำคัญคือต้องถามคำถาม เช่น ใครคือลูกค้าของคุณ, พวกเขามีความปัญหาและความต้องการอะไรบ้าง, พวกเขาคิดอย่างไร, ผลิตภัณฑ์ของคุณจะช่วยพวกเขาได้อย่างไร, คุณจะเชื่อมต่อกับพวกเขาได้อย่างไร?, และอื่น ๆอีกมากมาย แนวคิดคือการถามไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะรู้ว่าเรากำลังสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อใคร หรือสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน blog ของเราได้อีกในหัวข้อ “Persona มีไว้ทำไม สำคัญยังไงกับขั้นตอนการออกแบบ UX”
2. Requirement Gathering & Collecting
ในขั้นตอนการวิจัยหรือการค้นหาข้อมูลต่างๆ มันเกี่ยวข้องกับการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวคิด การทำให้ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์เป็นทางการ การตรวจสอบความถูกต้องของสมมติฐานทางธุรกิจ การทำโซลูชันเป็นแบบแผน ประเด็นปัญหา และการประมาณการต้นทุนสำหรับทั้งเวอร์ชันเริ่มต้น (MVP) เพื่อจะได้เก็บข้อมูลของผู้ใช้งานจริง แล้วนำปัญหาที่เกิดขึ้นมาพัฒนาต่อไป
3. Low Fidelity Prototyping Creating
การสร้าง Prototype เป็นแบบจำลองเชิงโต้ตอบของซอฟต์แวร์ของคุณที่มีลักษณะและการทำงานเหมือนกับผลิตภัณฑ์ของคุณ ต้นแบบกำหนดแนวคิดไม่ว่าจะเป็น Mood&Tone, Function หรือ Prototypeของคุณ และช่วยให้คุณพิสูจน์แนวคิด Proof of Concept (เรียกสั้นๆ ว่า PoC) เพื่อยืนยันว่าไอเดียนั้นเป็นไปได้ในทางเทคนิค ช่วยในการตรวจสอบสมมติฐานการทำงานและระบุปัญหาที่จะเกิดขึ้นในเชิงเทคนิค
วิกฤตที่ผ่านมาและในปัจจุบันได้แสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องของ telehealth และเริ่มเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการปรับปรุงระบบการดูแลให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยความทันสมัยนี้จะมาในรูปแบบของ telemedicine แนวโน้มของก้าวหน้าของ application ในช่วงวิกฤต COVID-19 ระบบบริการดูแลสุขภาพที่ออกมาในอนาคตจะเป็นระบบที่ดำเนินการอย่างเด็ดขาด ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อกำหนดรูปแบบการส่งมอบบริการการดูแลสุขภาพในรูปแบบใหม่ การส่งมอบบริการการดูแลคุณภาพสูงที่มีความโดดเด่นให้แก่ผู้บริโภค และเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
Source:
https://allwellhealthcare.com/telemedicine/
https://sennalabs.com/en/blogs/what-is-persona-for-and-its-importance-in-ux-design
https://www.behance.net/gallery/105114073/Diabetes-Control-App