23Dec, 2020
Language blog :
Thai
Share blog : 
23 December, 2020
Thai

เจาะลึก UX Process #3.1 ความต้องการของผู้บริโภค

By

7 mins read
เจาะลึก UX Process #3.1 ความต้องการของผู้บริโภค

"User Journey", "User Need", "User Insight", "User Requirement" คำเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ได้ยิน ได้ฟัง มากันอย่างนับไม่ถ้วนในบริบทของการทำงาน  ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ UX designer ต้องศึกษาค้นคว้า และวิเคราะห์ออกมาให้ได้ว่าผู้ใช้งานต้องการอะไรจากสินค้าและบริการนั้น ๆ

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับแนวคิดการออกแบบเพื่อผู้ใช้งานโดยใช้ Design Thinking แล้วเข้าใจว่าคือเรื่องเดียวกันกับการทำ User Experience Design แต่ที่จริงแล้วมุมมองในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นต่างกัน โดยที่ 

  • Design Thinking นั้นเริ่มคิดจากการที่ไม่มีธุรกิจอะไรเลย เลยสามารถเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจกลุ่มคนที่มีปัญหาคล้าย ๆ กันแล้วพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการเพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการของคนกลุ่มนี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์นั้น ๆ จะต้องถูกยอมรับโดยพวกเขาด้วยเช่นกัน 

  • User Experience มีแนวคิดว่าควรออกแบบผลิตภัณฑ์อย่างไร ให้มีภาพรวมออกมาราบรื่น กลมกล่อมที่สุดและยังต้องตอบโจทย์ทั้งในด้านธุรกิจ ความต้องการของกลุ่มลูกค้า และเทคโนโลยีที่สามารถรองรับกับรูปแบบทั้งหมดได้เป็นอย่างดี

สิ่งที่ผู้พัฒนา UX ต้องทำความเข้าใจเพื่อให้มองเป็นภาพเดียวกันทั้งทีม และเข้าใจกระบวนการ รวมถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งาน มีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

 

Persona UX

(Image: behance.net)

รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายคือใคร

หรือที่เราเรียกว่าการทำ Persona เพื่อบ่งบอกว่ากลุ่มผู้ใช้งานของเราเป็นใคร โดยการระบุรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น

• ชื่อ
• มุมมอง, แนวคิด, ทัศนคติ, ความเชื่อ
ที่อยู่อาศัย
• อาชีพ
• สถานะ: โสด, แต่งงาน, หย่าร้าง,มีลูกกี่คน ฯลฯ
• การศึกษา
• รายได้
• สิ่งที่สนใจ ชีวิตประจำวัน ตื่นกี่โมง เดินกิน นั่งนอน อย่างไร
• งานอดิเรก
• มุมมองต่อสินค้าและบริการ
• ปัญหา (Pain Points)
• แรงจูงใจต่อสินค้าและบริการ
• ความรู้สึกก่อน และหลังใช้สินค้าและบริการ
• พฤติกรรมบนโลกดิจิทัล
• สื่อหรือบุคคลที่มีอิทธิพล ทั้งความคิด และแรงจูงใจที่ผลักดันความคิด ความต้องการ

 

ถ้าเราได้ภาพรวมของ Persona มาแบบละเอียดแล้ว เราจะสามารถรู้ได้ว่า เขาเป็นคนอย่างไร, คิดอะไร, ชอบหรือไม่ชอบอะไร, เห็นอะไร, ใช้สื่ออะไรในระหว่างวัน ต้องสื่อสารออกไปอย่างไรถึงจะเกิดความสนใจ รวมไปถึงความต้องการ แรงจูงใจและบุคคลที่สามารถโน้มน้าวพวกเขาได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำ User Journey เพื่อนำมาวางแผนการดำเนินงานตามความต้องการของระบบและธุรกิจ

รายละเอียดของ Persona ทั้งหมดทำให้เราพอจะเห็นแล้วว่า ควรใช้ช่องทางใดในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการ สื่อสารในเวลาไหน ให้ใครเป็นผู้แนะนำ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน คนใกล้ตัว หรือ Influencer ต่าง ๆ  ใช้คำแบบไหนในการสื่อสาร และควรมี Killing Feature อะไรบนสินค้าและบริการเรา เพื่อให้ตอบสนอง Pain Point และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

เข้าใจ Moment ของผู้ใช้งาน

ก่อนที่จะทำ User Journey นั้น ควรเข้าใจก่อนว่าผู้ใช้งานมีขั้นตอน กระบวนการคิด และการกระทำอย่างไรบ้าง พบเจอปัญหาต่าง ๆ ในช่วงเวลาใด โดยใช้หลัก Zero moment of truth ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่โดย google ดังนี้

ZMOT: The New Mental Model of Marketing (Image: think with google)

  • Stimulus - ขั้นตอนที่มีสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการรับรู้ว่ามีแบรนด์ สินค้า หรือบริการนี้อยู่ ซึ่ง Message ที่จะส่งไปให้กลุ่มเป้าหมายจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่เขาจะดำเนินต่อไป หรือสิ่งที่เขาคาดหวังว่าจะเจอ

  • Zero Moment of Truth - เป็นขั้นตอนที่กลุ่มเป้าหมายเริ่มมีการค้นหาข้อมูลสินค้าและบริการผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน ซึ่งขั้นตอนนี้จะส่งผลต่อการวางแผนช่องทางในการหาข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น ต้องมีเว็บไซต์หรือไม่, ต้องมี Facebook Page หรือไม่, ควรใช้ Line Massenger ในการให้ข้อมูลดีหรือไม่ หรือควรทำ SEO Content เพื่อรองรับการเข้าถึงข้อมูลของพวกเขา ซึ่งคำถามเหล่านี้จะถูกตอบได้ด้วย Persona ที่เราได้สร้างไว้ว่าพวกเขาใช้ช่องทางสื่อแบบไหน ชอบอะไร และไม่ชอบอะไรนั่นเอง

  • First Moment of Truth - เป็นขั้นตอนที่กลุ่มเป้าหมายของเราพร้อมที่จะใช้สินค้าและบริการ ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องตัดสินใจว่าจะนำไปใช้ จะซื้อหรือไม่ ดังนั้น การออกแบบ Journey จะต้องสอดคล้องกันตั้งแต่คลิกแรกที่ผู้ใช้กดเข้ามาหาเว็บไซต์เรา หรือก้าวแรกที่เข้ามาในร้าน ในขั้นนี้เราจึงต้องพร้อมที่จะแนะนำสินค้าและบริการได้อย่างครบถ้วน ตรงไปตรงมาตามความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

    การออกแบบ UX ในมุมของ Digital Product นั้น ต้องคิดถึงกลุ่มเป้าหมายในเรื่องการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนและการเข้าถึงการใช้งานต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงได้อย่างราบรื่น ตรงกับสื่งที่เราชักนำเขาเข้ามาหาเราและตามที่เขาคาดหวังไว้

    นอกจากนั้น หลาย ๆ สินค้าและบริการมีการดำเนินการผิดพลาดในการใช้ข้อความหรือภาพ โปรโมชัน ไปในทางที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และในบางครั้งที่ธุรกิจทำการโปรโมตผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เมื่อผู้ใช้งานสนใจและคลิกเข้ามาแล้วกลับไม่พบสิ่งที่ตามหา ซึ่งข้อผิดพลาดนั้นอาจเกิดจาก ความไม่พร้อมของโปรดักต์ ความผิดพลาดในการใช้ข้อความหรือภาพที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เราจึงต้องควรระวังและเลือกใช้ให้เหมาะสม และต้องอย่าลืมว่าผู้ใช้งานในปัจจุบันจะใช้เวลาเพียง 4 -5 วินาทีเท่านั้นในการสนใจและยอมรับผลิตภัณฑ์ ดังนั้น การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม และเข้าใจง่ายจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสินค้าและบริการที่ยังไม่ได้เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้ว (อาจจะแตกต่างไปตามประเภทของสินค้าและบริการ)

  • Second Moment of Truth - ขั้นสุดท้ายนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้ใช้ได้ทดลองใช้สินค้าและบริการของเรา แล้วเกิดความรู้สึกต่อสินค้าและบริการนั้น ๆ ซึ่งส่งผลต่อการกระทำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ อยากติชม อยากบอกต่อให้เพื่อนใช้ หรืออยากแชร์ประสบการณ์ไปยัง Social media เป็นต้น

เมื่อเราเข้าใจ กลุ่มผู้ใช้งานและ Moment ต่าง ๆ รวมถึงช่องทางที่เป็นจุดสัมผัส (Costomer touchpoint) ของสินค้าและบริการกับผู้ใช้งานแล้ว ต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์และออกแบบ User Journey เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายของเราสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นมากที่สุด ติดตามอ่านต่อได้ในบทความหน้าได้เลยครับ

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

26
July, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
26 July, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี

By

3 mins read
Thai
26
July, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
26 July, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีก Google Fonts คืออะไร? (กันแน่) หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

By

4 mins read
Thai
26
July, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
26 July, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.