11Nov, 2020
Language blog :
Thai
Share blog : 
11 November, 2020
Thai

Business model canvas สิ่งที่คนทำ Startup ต้องรู้

By

10 mins read
Business model canvas สิ่งที่คนทำ Startup ต้องรู้

เริ่มต้นทำธุรกิจแค่มีไอเดีย มีเงินลงทุน ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ว่าการลงทุนทุกอย่างจะประสบความสำเร็จ หากเราไม่มีการวางแผนธุรกิจให้ดี ก็ยากที่จะต่อยอดหรือรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น และสำหรับนักธุรกิจที่ต้องการทำ Startup การระดมทุนจาก Angel investors และ Venture capital เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าเราไม่มีแผนงานที่ชัดเจน ก็ยากที่จะดึงดูดนักลงทุนเหล่านั้นให้มาร่วมงานกับเรา

ในบทความนี้จะมาเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับการร่าง business model canvas ให้เจ้าของธุรกิจมองเห็นภาพกว้าง แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถดูข้อมูลครบทุกมุมมองและครอบคลุม stakeholders ที่สำคัญได้

แต่ก่อนอื่นเลย เราจะต้องมาทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจในการทำธุรกิจ ซึ่งก็คือ แบบจำลองธุรกิจหรือ ที่เรียกกันคุ้นชื่อว่า Business model กันก่อน

Business Model

Business Model คือ โมเดลในการทำธุรกิจที่สร้างขึ้นมาให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้อย่างครบถ้วนและครอบคลุม ช่วยให้การดำเนินธุรกิจมีทิศทางที่ชัดเจน โมเดลที่ดีควรให้คนนอกอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าธุรกิจของเราคืออะไร มีจุดประสงค์และกลยุทธ์อย่างไร ใครเป็นผู้บริโภค จะทำกำไรได้อย่างไรบ้างและอื่น ๆ นอกจากนั้น การมีโมเดลที่ชัดเจนสามารถทำให้พนักงานรู้และเห็นภาพตรงกันเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนมากแล้วควรสร้างโมเดลก่อนที่จะเริ่มธุรกิจจริงเพื่อประเมินผลตอบแทนและความเป็นไปได้ในการเจาะตลาด

Business Model Canvas

Business Model Canvas คือ เครื่องมือที่ช่วยออกแบบโมเดลธุรกิจโดยการวิเคราะห์ผ่านปัจจัย 9 อย่างที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลว่า ครอบคลุมด้านที่สำคัญทุกด้านในการทำธุรกิจขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Corporate, SME หรือ Startup เองก็ต้องใช้เช่นเดียวกัน

Business Model Canvas

ซึ่ง 9 ปัจจัยนั้น ประกอบไปด้วย...

1. Customer Segments - ผู้บริโภคสินค้า หรือ บริการ

ขั้นแรกของการทำ Canvas คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าใครจะเป็นคนใช้สินค้า หรือ บริการของเรา ซึ่งในขั้นตอนนี้เราจะต้องมองให้ลึกลงไปถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้า ยิ่งเราทำความเข้าใจว่าลูกค้าคือใคร มีลักษณะอย่างไร และต้องการอะไร โอกาสที่เราจะเสนอคุณค่าของสินค้าหรือบริการก็จะยิ่งตรงตามความต้องการมากขึ้น ซึ่งแนวทางในการแบ่ง segment ของกลุ่มเป้าหมายขึ้นอยู่กับธุรกิจของคุณ โดยอาจแบ่งเป็นระดับ ดังนี้

  • Mass Market : กลุ่มลูกค้าทั่วไปที่มีขนาดใหญ่ 
  • Niche Market : ตลาดย่อยที่มีขนาดเล็กมาก มีความต้องการความต้องการพิเศษ 
  • Segmented : กลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการที่แตกต่างกันเล็กน้อย สามารถแบ่งได้ตามเพศ อายุ ฯลฯ 
  • Diversified : ตลาดที่มีความต้องการที่แตกต่าง สำหรับธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลาย 
  • Multi-sided Markets/Platform : ตลาดที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไปที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลงออนไลน์ Spotify จะสามารถแบ่งผู้ที่ใช้บริการเป็นผู้ฟังออนไลน์ และ บริษัทที่ต้องการซื้อพื้นที่สื่อ

2. Value Propositions - คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้า

นอกจากทำความเข้าใจว่าสินค้าและบริการของเราต้องการจะขายให้ใคร ในการทำธุรกิจสิ่งสำคัญอย่างแรก ๆ ก็คือการหาจุดเด่นของสินค้าหรือบริการเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง และเพื่อเป็นการสร้าง value ในการดึงดูด และตอบสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ความใหม่ในตลาด(Newness), การผลิตเพื่อความต้องการโดยเฉพาะ (Customization), การออกแบบที่โดดเด่น (design), branding และอื่น ๆ โดยอาจจะใช้ Value Proposition Canvas มาช่วยในการกำหนด ดังนี้

Value Propositions

Customer Profile (ฝั่งลูกค้า)

คือฝั่งที่ระบุความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเราจะเริ่มต้นในส่วนของลูกค้าเนื่องจากเป็นการออกแบบสินค้าและบริการที่ยึดลูกค้าเป็นหลัก โดยที่ Customer Profile ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้

  • Customer jobs : สิ่งที่ลูกค้าต้องการจะทำ ความต้องการพื้นฐานของลูกค้า รวมถึงอารมณ์ความรู้สึก 
  • Gains : ส่วนที่ลูกค้าต้องการหรือคาดหวังว่าจะได้รับจากสินค้าและบริการจากเรา 
  • Pains : สิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบและไม่ต้องการจากสินค้าและบริการของเราหรือของคู่แข่งที่อยู่ในตลาด รวมไปถึงความเชื่อผิด ๆ ต่อสินค้าและบริการนั้น ๆ

Value Proposition (ฝั่งสินค้าและบริการ)

เป็นการออกแบบสินค้าและบริการจากฝั่งธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าให้กลุ่มเป้าหมายตามที่ได้วิเคราะห์จาก Customer Profile ประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังนี้

  • Product and Services : สรุปว่าสินค้าและบริการของเรามีอะไรบ้าง ระบุคุณสมบัติ จุดแข็งที่เหนือกว่าคู่แข่ง และประโยชน์ที่ลูกค้าได้จากการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งต้องสอดคล้องกับ Customer Jobs ที่เรากำหนดไว้ด้วย
  • Gain creators : สิ่งที่สามารถตอบสนองในสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง และสร้างความประทับใจให้ลูกค้าจากใช้สินค้าและบริการ รวมไปถึงสิ่งที่เหนือความคาดหวังซึ่งถ้ามีจะทำให้ลูกค้าประทับใจมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนนี้จะเข้าไปตอบโจทย์ในส่วนของ Gains
  • Pain relievers : สิ่งที่สามารถลบล้างหรือแก้ไขในสิ่งที่ลูกค้าไม่ชอบหรือพยายามหลีกหนี โดยส่วนนี้จะไปตอบโจทย์ในส่วนของ Pains 

3. Channels - ช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า

การเลือกช่องทางที่เหมาะสมในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ลูกค้าได้รับสื่อที่เราต้องการนำเสนอได้อย่างตรงจุดมากที่สุด ซึ่งการจะได้มาซึ่งช่องทางที่ดีและสอดคล้องจะต้องวิเคราะห์จากพฤติกรรมการบริโภคสื่อของผู้บริโภค โดยอาจจะดูจาก customer journey ว่าในแต่ละวันกลุ่มเป้าหมายทำอะไร ใช้โซเชียลมีเดียหรือช่องทางสื่อออฟไลน์อื่น ๆ ไหม อะไรบ้าง

4. Customer Relationships - การบริหารเพื่อรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า

การรักษาฐานลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ เพราะถ้าเกิดธุรกิจเสียฐานลูกค้าที่มั่นใจได้ว่าพวกเขามีกำลังซื้อและมองเห็น Value ในสิ่งที่ธุรกิจเรานำเสนอ จะทำให้เกิดการเสียโอกาสที่จะการซื้อซ้ำ และการบอกต่อ (Word of mouth) ดังนั้นเราจะต้องมีการวางแผนการดูแลหลังการขายให้สอดคล้องกับสินค้า บริการและกลุ่มเป้าหมาย เช่น Retention โปรแกรม คอลเซ็นเตอร์ สิทธิประโยชน์ ส่วนลดต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อทำให้เกิดความผูกพันกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น

5. Revenue Streams - ช่องทางรายได้ของธุรกิจ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ค่อนข้างสำคัญมากในการทำธุรกิจ เพราะการทำธุรกิจคือการลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร ดังนั้นรายได้ของธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีที่มาที่ไป เราจำเป็นต้องรู้ว่าธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากส่วนไหนได้บ้าง แล้วอะไรเป็นช่องทางหลัก ยกตัวอย่างรายได้ของธุรกิจต่าง ๆ เช่น ค่าบริการ รายได้จากการขายสินค้า ค่าเช่า ค่านายหน้า ค่าอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธ์ ค่าเช่าพื้นที่สื่อโฆษณา เป็นต้น

 

Revenue Streams

ตัวอย่างการแจกแจงช่องทางรายได้ของ บริษัท Microsoft

(Image: gigazine.net)

6. Key Resources - ทรัพยากรที่จำเป็นในการดําเนินธุรกิจ

ทรัพยากรที่สำคัญที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ อาคาร โรงงาน เครื่องจักร เงินทุน ทรัพย์สินทางปัญญา ที่ดิน ฯลฯ โดยเราจะต้องวิเคราะห์ว่าทรัพยากรที่มีอยู่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ ถ้ามีไม่พออะไรเป็นสิ่งที่ต้องลงทุนเพิ่มเพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการได้ตามจุดประสงค์ของธุรกิจและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

7. Key Activities - กิจกรรมที่ต้องดำเนินเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด

ในขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่เราต้องกำหนดสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจว่าเราจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดด้วยวิธีใด เริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จนถึงกระบวนการส่งมอบสินค้าและบริการให้ถึงมือลูกค้า

8. Key Partners - พันธมิตรทางธุรกิจ

ในการทำธุรกิจบางทีเราอาจจะต้องพึ่งพาคนอื่น โดยการมีพาร์ตเนอร์ หรือคู่ค้าที่จะสามารถทำงานร่วมกันให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยมันอาจจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ หรืออาจจะเป็นการกระจายความเสี่ยง โดยปกติแล้ว Key Partners จะแบ่งออกได้เป็น 4 แบบด้วยกัน ได้แก่

  • Strategic alliances : การร่วมมือกับคนหรือบริษัทที่ไม่ใช่คู่แข่ง เพื่อผลประโยชน์ร่วมทางธุรกิจ
  • Coopetition : การร่วมมือกับคู่แข่ง เช่น สายการบินที่เข้าร่วม Star Alliance เป็นพันธมิตรทางธุรกิจกัน 
  • Joint Ventures : การลงทุนร่วมกันเพื่อสร้างธุรกิจใหม่ 
  • Buyer-supplier relationships : การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย

9. Cost Structure ต้นทุนและค่าใช้จ่าย

มาถึงส่วนสุดท้าย สิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลย คือส่วนของการลงทุนที่ใช้จ่ายในการทำธุรกิจ โดยต้นทุนสามารถแบ่งได้หลายประเภท ในที่นี้จะขอนำเสนอการแบ่งประเภทแบบง่าย ๆ เป็น

  • Fixed cost : ต้นทุนคงที่ ที่จะต้องจ่ายไม่ว่าจะผลิตสินค้ามากหรือน้อย เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ/ไฟ ค่าบำรุงรักษาเรื่องจักร ค่าเช่าสำนักงาน
  • Variable cost : ต้นทุนที่ผันแปรตามสัดส่วนกิจกรรมที่เกิดขึ้น เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่านายหน้า ค่าการทำโฆษณา เป็นต้น

ลองมาดูตัวอย่างการวิเคราะห์ Business Model Canvas ของ Spotify แพลตฟอร์มบริการสตรีมเพลงดิจิทัล

 Cost Structure

สุดท้ายแล้วหวังว่าบทความนี้จะช่วยทำให้ผู้อ่านมีความเข้าใจมากขึ้นถึงความสำคัญในการทำ Business Model ในการดำเนินธุรกิจ และวิธีการทำ Business Model แบบคร่าว ๆ 

ติดตามอ่านบทความดี ๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น Machine Learning, Startup, Design, Software Development และ Management ทาง Senna Labs Blog ได้ทุกวัน

 

 

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

18
August, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
18 August, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
18
August, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
18 August, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English
18
August, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
18 August, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.