21Jan, 2021
Language blog :
Thai
Share blog : 
21 January, 2021
Thai

App monetization: รายได้จาก Application มาจากไหน?

By

5 mins read
App monetization: รายได้จาก Application มาจากไหน?

ทำไมถึงควรลงทุนในการทำแอปพลิเคชัน? เพื่อสร้าง Awareness เพิ่มฐานลูกค้า หรือแม้แต่เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร คำตอบของแต่ละคนอาจจะตอบได้หลากหลาย แต่ในท้ายที่สุดแล้ว การสร้างรายได้และผลกำไรก็ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเราควรลงทุนหรือไม่ นอกเหนือจากแอปพลิเคชันที่ต้องจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลด หลายท่านอาจจะสงสัยว่าแอปฯ ฟรีที่โหลดใช้กันในทุก ๆ วันนั้นสร้างรายได้อย่างไร ในบทความนี้เราจะกล่าวถึง Revenue Model ของการทำแอปพลิเคชันที่ได้ผลกำไร ว่ามีอะไรบ้าง

In-App Advertising

แอปพลิเคชันรูปแบบนี้จะปล่อยให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดฟรี แต่จะใช้การขายพื้นที่สื่อโฆษณาให้กับบริษัทที่ต้องการเข้าถึงผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการสร้างรายได้ แค่เพียงผู้ใช้กดดูโฆษณา ซึ่งโมเดลนี้เป็นโมเดลที่ง่ายที่สุดจึงมีการแข่งขันที่สูงระหว่างแอปด้วยกัน ทำให้ยากในการดึงดูดผู้ที่จะมาลงโฆษณา ดังนั้น เงินที่ได้ในแต่ละคลิกอาจจะไม่สูงมากนัก อย่าง Facebook เป็นต้น 

In-App Advertising

(Image: Medium)

Freemium

หนึ่งในโมเดลธุรกิจที่ใช้กันแพร่หลาย ซึ่งคำว่า Freemium มาจากคำว่า Free รวมกับคำว่า Premium ซึ่งความหมายของมันก็ตรงตัว คือลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน และใช้ได้ฟรีในเวอร์ชันปกติ แต่ถ้าลูกค้าท่านไหนอยากได้ความพรีเมียมเพิ่มขึ้นอีกระดับ ไม่ว่าจะเป็นด้านคอนเทนต์ อัปเกรดฟีเจอร์ใหม่ ๆ หรือแม้แต่การตัดโฆษณาออก ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อแลกกับการบริการนั้น ๆ ซึ่งโมเดลนี้มีข้อดีตรงที่ สามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทดลองก่อนได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายกว่าแอปที่ต้องเสียเงินดาวน์โหลด เช่น Youtube Premium

Freemium

YouTube Premium

(Image: Youtube)

Premium Apps (Paid Apps)

ชื่อของโมเดลนี้บ่งบอกได้เลย ว่าเป็นแอปที่ต้องจ่ายเงินเพื่อดาวน์โหลด เป็นการสร้างรายได้จากยอดการดาวน์โหลด ยิ่งมีผู้ใช้มากยิ่งมีรายได้มาก ดังนั้นแอปประเภทนี้จะต้องมีจุดขายที่แข็งแกร่งที่สามารถดึงดูดให้ผู้ใช้บริการเลือกที่จะดาวน์โหลดแบบเสียเงินมากกว่าใช้แอปฯ ฟรี ซึ่งแอปประเภทนี้ส่วนมากที่พบจะเป็นประเภทเกมส์ หรือ Tools ต่าง ๆ ที่มีความโดดเด่นเฉพาะ

Premium Apps (Paid Apps)

(Image: androidauthority.com)

In-App Purchases

เป็นกลยุทธิ์ที่สร้างการขายให้เกิดขึ้นภายในแอปพลิเคชันโดยการขายสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม เช่น การแลกสกุลเงินในเกมส์ การเติมเกมส์ การอัปเกรดฟีเจอร์บางอย่าง หรือแม้แต่การขายของผ่านแอป E-Commerce นอกจากนั้น ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับนักการตลาดในการทำโฆษณาและโปรโมชันต่าง ๆ ได้อีกด้วย

In-App Purchases

(Image: Google Play)

Subscription

โมเดลที่อิงจากระบบการสมัครสมาชิก โดยผู้ใช้จะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปีเพื่อใช้บริการ หรือเข้าถึงคอนเทนต์ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในธุรกิจสตรีมมิ่ง เช่น Netflix หรือ Adobe ที่ผู้ใช้งานจะต้องจ่ายค่า Subscription รายเดือนก่อนถึงจะสามารถใช้บริการได้

Netflix Subscription

(Image: 9to5google.com)

Sponsorship

เป็นโมเดลที่ค่อนข้างใหม่ โดยอาศัยการเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัทที่ต้องการทำโฆษณา ซึ่งจะลงทุนโดยการให้ Incentive อาจจะเป็นเงินค่าตอบแทน รางวัล หรือคูปอง กับผู้ใช้หรือทำตามเงื่อนไขบางอย่างภายในแอปฯ ดังนั้น เจ้าของแอปสามารถสร้างรายได้จากส่วนแบ่งของคนที่แลกของรางวัล

Sponsorship

(Image: thereporter.asia)

Dtac Reward

(Image: Dtac)

หวังว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านได้เห็นภาพมากขึ้นว่า Applicationในปัจจุบันนี้ สามารถสร้างรายได้จากจากกลยุทธิ์ไหนบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกโมเดลให้เหมาะกับธุรกิจของคุณที่สุด

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

18
August, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
18 August, 2024
Inbound Marketing การตลาดแห่งการดึงดูด
การทำการตลาดในปัจจุบันมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิมมากเพราะวิธีที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีในอดีตไม่ได้แปลว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในอนาคตด้วยเสมอไปประกอบการแข่งขันที่สูงขึ้นเรื่อยๆทำให้นักการตลาดต้องมีการปรับรูปแบบการทำการตลาดในการสร้างแรงดึงดูดผู้คนและคอยส่งมอบคุณค่าเพื่อให้เข้าถึงและสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ Inbound Marketing คืออะไร Inbound Marketing คือ การทำการตลาดผ่าน Content ต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายเข้ามา และตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยอาจจะทำผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านสื่อ Social Media ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้น Inbound Marketing เป็นที่นิยมมากขึ้นเพราะเครื่องมือและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาในปัจจุบันทำให้การทำการตลาดแบบ Inbound Marketing นั้นทำง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก นอกจากนี้การทำ Inbound Marketing ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย หลักการของ Inbound Marketing Attract สร้าง

By

3 mins read
Thai
18
August, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
18 August, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English
18
August, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
18 August, 2024
การเปลี่ยนทิศทางผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจ Startup หรือ Pivot or Preserve
อีกหนึ่งบททดสอบสำหรับการทำ Lean Startup ก็คือ Pivot หรือ Preserve ซึ่งหมายถึง การออกแบบหรือทดสอบสมมติฐานของผลิตภัณฑ์หรือแผนธุรกิจใหม่หลังจากที่แผนเดิมไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่คาดคิด จึงต้องเปลี่ยนทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้มากที่สุด ตัวอย่างการทำ Pivot ตอนแรก Groupon เป็น Online Activism Platform คือแพลตฟอร์มที่มีไว้เพื่อสร้างแคมเปญรณรงค์หรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสังคม ซึ่งตอนแรกแทบจะไม่มีคนเข้ามาใช้งานเลย และแล้วผู้ก่อตั้ง Groupon ก็ได้เกิดไอเดียทำบล็อกขึ้นในเว็บไซต์โดยลองโพสต์คูปองโปรโมชั่นพิซซ่า หลังจากนั้น ก็มีคนสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เขาคิดใหม่และเปลี่ยนทิศทางหรือ Pivot จากกลุ่มลูกค้าเดิมเป็นกลุ่มลูกค้าจริง Pivot ถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภท Customer Need

By

3 mins read
Thai

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.