17May, 2021
Language blog :
Thai
Share blog : 
17 May, 2021
Thai

10 แบรนด์ดังปรับลุกใหม่ในปี 2020 บอกอะไรเรา

By

4 mins read
10 แบรนด์ดังปรับลุกใหม่ในปี 2020 บอกอะไรเรา

 

เพราะคนมักจดจำแบรนด์จากโลโก้ จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวว่า โลโก้นั้นเป็นส่วนสำคัญและเป็นเครื่องมือสื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้า หรือผู้บริโภคที่ทรงพลังอย่างหนึ่งของแบรนด์ แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ธุรกิจ (โดยเฉพาะรายใหญ่ ๆ ) ก็ต้องมีการปรับหน้าตาของตนเอง ตั้งแต่การอัปเดตแค่โลโก้ (Redesign หรือ refresh brand) ไปจนถึงเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์แบบหน้ามือเป็นหลังมือ (Rebrand)

ทำไมต้อง Redesign

คำว่า Redesign แปลตรงตัวคือ ออกแบบอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแค่ ตัวโลโก้ ดีไซน์ สโลแกน สี ฟอนต์ หรือสื่อการตลาด ไปจนถึงเปลี่ยนกลุ่มลูกค้าหลักเดิม วิสัยทัศน์ หรือพันธกิจเดิมไปเลยก็ได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Refresh or Rebrand: ควรปรับหรือควรเปลี่ยน

 

เมื่อเวลาไม่ได้เป็นตัวกำหนด แต่เป็นพฤติกรรมผู้บริโภค 

เรามักเข้าใจว่า บริษัทน้อยใหญ่ปรับเปลี่ยนโลโก้ของตนเองตามเวลาไม่ให้ล้าสมัย แต่อย่าลืมว่า ธุรกิจส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภค ไม่ใช่ความต้องการของเจ้าของธุรกิจเอง (ไม่อย่างนั้นก็คงทำเองใช้เอง ไม่ต้องขายใคร) ดังนั้น เหตุผลหลักที่ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นต้องปรับตัว ก็คือกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคไปเรื่อย ๆ ตามยุคสมัย 

แต่ก็ใช่ว่าทุกแบรนด์ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเสมอ เพราะถ้าแบรนด์ดีอยุ่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เหมือนคำกล่าวว่า 'If it ain't broke, don't fix it' ถ้ามันไม่พังก็ไม่ต้องซ่อม เช่นเดียวกับแบรนด์ เพราะการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง ถ้าวางแผนไม่มี กลยุทธ์ไม่ได้ ก็คือความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ โดยเฉพาะการ rebrand หรือปรับแบรนด์ใหม่หมด

Redesign Logo

Image: tqpr

Year 2020 Go Minimal - ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่ความเรียบง่าย

การ redesign ในปี 2020 ที่ผ่านมา มีบริษัทใหญ่หลายแบรนด์ ที่ทั้งปรับและเปลี่ยนตัวเองพอสมควร หลายแบรนด์พยายามผันภาพลักษณ์ให้เข้าถึงง่ายขึ้น มีการลดลดทอนรายละเอียดที่ซับซ้อนลง และเตรียมตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น เข้าไปอยู่ในทุกพื้นที่ทุกรูปแบบผู้บริบริโภคเท่าที่จะเป็นไปได้ วันนี้จึงเราเลือก 10 แบรนด์ดังที่คนส่วนใหญ่รู้จักมาให้ดูว่า เขาปรับเปลี่ยนอะไรกันไปบ้าง 


Google Workspace (2006)

เป็นทอร์กออฟเดอะทาวน์อยู่พักใหญ่กับการ redesign ไอคอนของแบรนด์ Google Workspace เพราะหลายคนมองว่าเป็นการออกแบบที่คล้ายกันเกินไปจนสร้างความสับสนให้ผู้ใช้งานมากกว่าจะเป็นสิ่งดี 

Google Workspace เป็นแบรนด์กลุ่มผลิตภัณฑ์แบบคลาวด์ 100% ที่เข้าถึงข้อมูลได้ “ทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์” ซึ่งประกอบด้วย Mail, Calendar, Drive, Docs และ Meet 

โดยไอคอนของผลิตภัณฑ์แต่ละอันก็ได้รับแรงบันบันดาลใจมาจากสีของแบรนด์แม่อย่างกูเกิลเอง (แดง ฟ้า เหลือง เขียว) กูเกิลอ้างว่าอยากให้ไอคอนของ Google Workspace ชุดใหม่สะท้อนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น เป็นประโยชน์มากขึ้น และได้รับประสบการณ์การใช้งานที่หลากหลาย ยืดหยุ่น ดังเช่นผลิตภัณฑ์ของ Google Workspace ที่พยายามจะเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกัน ใช้งานต่อเนื่อง ไม่สะดุดนั่นเอง

 

Google Workspace

 

GoDaddy (1997)

GoDaddy ผู้ให้บริการโฮสติ้งและโดเมนออนไลน์ ก่อตั้งในปี 1997 ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 18 ล้านคน และเป็นหนึ่งในผู้ใบ้บริการการจดโดเมนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดด้วย ล่าสุด GoDaddy ได้อัปเดตโลโก้ใหม่ มีความทันสมัยขึ้น สัญลักษณ์หลอมรวมเอาตัวอักษร G กับ O เข้าด้วยกันเป็นทรงรูปหัวใจ ซึ่งเริ่มเห็นทำแอนิเมชันขยับไปมาบ้างแล้วสื่อการตลาด ลดสีลงเหลือเพียง 2 สีหลัก คือ ขาว (พลังงาน ความสร้างสรรค์ โชค) และสีฟ้าน้ำทะเล (turquoise - มิตรภาพและความภักดี)

GoDaddy

Oneplus (2013)

OnePlus แบรนด์สมาร์ตโฟนจากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เริ่มต้นในปี 2013 ที่เปิดตัวทำยอดขายสูงถึง 10 เท่าจากที่ตั้งเป้าไว้ ผ่านมา 7 ปี วันพลัสถือโอกาส redesign ลุกตัวเอง ให้อ่านและเห็นชัดเจนขึ้น โดยปัดฝุ่นโลโก้เดิม ปรับมุมเลข 1 ให้มนขึ้น หนาขึ้น เอาพิ้นหลังสีแดงออก ทำให้ดูโปร่ง เพิ่มความหนาของตัวอักษรและเส้น แถมยังสร้างระบบฟอนต์ขึ้นมาใหม่ ดูเหมือนจะไม่มีอะไรแตกต่าง แต่ลุกปัจจุบันดูทันสมัยขึ้น เรียบง่ายขึ้น และแข็งเเรงขึ้นกว่าเดิมมาก 

นอกจากนั้นยังปรับการนำเสนอ tagline จากเดิม เป็นแถบสีสองเส้น มาเป็น typography โปร่ง ๆ ดูสดใสและสนุกขึ้น

Oneplus

Image: OnePlus

Adobe Creative Cloud (2011)

แม้ Adobe Creative Cloud จะเป็นเพียงเซ็ตแอปพลิเคชัน แต่ก็ถือเป็นเสมือนแบรนด์หนึ่งของ Adobe ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกาที่ให้บริการด้าน computer software อย่าง Photoshop, Illustrator, After Effect เป็นต้น Adobe ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1982 (ในชื่อ Adobe Systems Incorporated จนถึงปี 2018) และเปิดตัว Adobe Creative Suite (CS) ซึ่งเป็นการขายซอฟต์เเวร์แบบจ่ายครั้งเดียว และแยกจำหน่ายแต่ละตัว ก่อนที่จะหยุดจำหน่าย และเปลี่ยนทิศทางมาเป็น online subscription ในชื่อ Adobe Creative Cloud แทน โดยมีบริการเป็นรายเดือน

โลโก้เดิมจะเป็นกล่องสีเหลี่ยมสีแดง มีรูปสัญลักษณ์เหมือนก้อนเมฒตรงกลาง (เกิดจากตัว C สองตัวหันเข้าหากัน: Creative Cloud) แต่โลโก้ล่าสุดได้มีการใช้สีมากขึ้น และผสมออกมาเป็นเกรเดียนต์ (gredient) เพื่อสื่อถึงความสำคัญของความสร้างสรรค์ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ หรือซอฟต์แวร์ หรือ แอปฯ (ที่เดี๋ยวนี้นิยมเรียกกัน) ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานแวดวงศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ จึงต้องการให้ดูเปิดกว้าง และเป็นอิสระ แต่ยังคงภาพลักษณ์มืออาชีพ

โลโก้จึงจะยังคงมีกล่องพื้นหลังเหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มความโค้งมนขึ้น ปรับสัญลักษณ์ให้หนาขึ้น ส่วนสีก็ได้มาจากสีผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว เช่น Photoshop (ฟ้า) Illustrator (ส้ม) Premier (ม่วง) XD (แดง) เป็นต้น

Adobe Creative Cloud

Intel (1968)

อินเทล (Intel) เป็นบริษัทผู้ผลิตไมโครโพรเซสเซอร์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งในปี 1968 แต่กลับไม่ค่อยได้เห็นการปรับแบรนด์เท่าไหร่นัก (ซึ่งสมควรแก่เวลาปรับได้แล้ว) โลโก้ใหม่ เรียบง่ายขึ้น ด้วยการเอาวงตวัดออก ปรับมุมตัว i และ l ให้แบรนด์ดูแข็งเเรง มั่นคง และน่าเชื่อถือขึ้น (จากมน เป็นเหลี่ยม) ส่วนตัว n และ e ถูกดีไซน์ใหม่ให้รับกับตัวอักษรอื่น ๆ แต่ยังคงสีฟ้าเดิมไว้

Intel

BMW (1916)

BMW เป็นบริษัทผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของเยอรมนี ตั้งอยู่ที่เมืองมิวนิก ก่อตั้งในปี 1916 ได้ปรับโลโก้ใหม่โกมินิมัล เป็แบบ 2 มิติ เอาพื้นหลังสีดำที่เคยมีในโลโก้เก่าออก ปรับเส้น ขอบ สี ซึ่งอันใหม่ก็พร้อมรับศักราชใหม่ในยุคดิจิทัลมากขึ้น มีความโฉบเฉี่ยว สะท้อนการพัฒนา โดย Jens Thiemer รองประธานอาวุโสฝ่ายลูกค้าและแบรนด์ บอกว่าต้องการให้โลโก้ใหม่ เปิดกว้างและชัดเจนมากขึ้น และแน่นอนว่ารองรับสิ่งที่จะตามมาในอนาคตด้วย

BMW

Nissan (1933)

Nissan เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ข้ามชาติสัญชาติญี่ปุ่น ทั้งยังเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสี่ของโลกอีกด้วย ตลอดการดำเนินกิจการเกือบ 90 ปี นิสสันได้เปลี่ยนโลโก้ถึง 11 ครั้ง เฉลี่ยทุก ๆ 8 ปี แต่โลโก้ล่าสุดถูกใช้มานานถึง 20 ปีเลยทีเดียว 

นิสสันเปิดโลโก้ใหม่ “บาง เบา และมีความยืดหยุ่น” สไตล์มินิมัล ดีไซน์ 2 มิติ (flat design) อย่างที่หลายคนเรียก เป็นการถอดโครงเชิงป้ายจากโลโก้เก่า แต่เอามาทำให้ดูทันสมัยที่แม้ลดทอนลงแต่ก็ยังคงเค้าของโลโก้เดิมให้เห็นอยู่ ส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้มากจากบริษัทที่ต้องการมุ่งสู่การพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคต และนิสสันก็ได้วางแผนการใช้งานโลโก้กับผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้นเเล้วเรียบร้อย 

Nissan

Toyota (1935)

Toyota เริ่มต้นจากการผลิตจักรเย็บผ้าขนาดใหญ่ มาเป็นบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น และกลายเป็นบริษัทผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่หันมาปรับเปลี่ยนโลโก้ใหม่เช่นเดียวกับนิสสัน และค่ายรถยี่ห้ออื่น โดยโตโยต้าได้สลัดชื่อ TOYOTA ออกเหลือเพียงสัญลักษณ์วงรี 3 วง ที่ซ่อนความหมายอันลึกซึ้งเอาไว้คือ วงรีตรงกลางหมายถึงหัวใจของลูกค้า รูปไข่คือหัวใจของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรูปไข่ขนาดใหญ่ด้านนอกเป็นหัวใจของเทคโนโลยี

Toyota

TripAdvisor (2000)

Tripadvisor เป็นเว็บของคนรีวิวท่องเที่ยวเจ้าใหญ่ของโลกนักเดินทางหลายคนต้องรู้จัก เพราะมียอดเข้าชม ค้นหาข้อมูล และวางแผนทริปเดือนละเป็นล้าน ปกติโลโก้ที่คุ้นตา คือรูปหัวนกฮูกตาโต กับชื่อ tripadvisor สีดำกับเขียว แต่โลโก้ใหม่ถูกลดทอนรายละเอียดให้ดูเรียบง่ายขึ้น บนพื้นหลังวงกลมสีเขียวมิ้นต์ พร้อมเพิ่มความหนาของลายเส้น และปรับทรงทุกอย่างให้เป๊ะขึ้นตามหลักเรขาคณิต โลโก้ใหม่ต้องการสะท้อนความก้าวหน้าและความพร้อมในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการนั่นเอง

Tripadvisor

Heinz (1869)

ตบท้ายด้วยแบรนด์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยกมาวันนี้ ที่มีอายุถึง 152 ปี (2021) Heinz เป็นหนึ่งในบริษัทแปรรูปอาหารที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง แค่ซอสมะเขือเทศอย่างเดียวก็กินตลาดซอสไป 30% ทั่วโลกแล้ว เอเจนซีดังฝั่งอังกฤษ Jones Knowles Ritchie (JKR) ได้มาช่วยปรับภาพลักษณ์ สะท้อนความเก่าแต่ยังเก๋าสุด ๆ ของแบรนด์ โดย JKR แตะของเก่าน้อยมาก แต่เน้นไปที่การนำเสนอแบรนด์ให้เข้าถึงผู้บริโภคสมัยใหม่ สร้างภาพจำภายใต้ความสร้างสรรค์ ภายในธีม simple greatness (แปลยังไงดี สิ่งดี ๆ ที่เรียบง่าย - วอนผู้อ่านช่วยแปลอีกที) ผ่านบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาด และการสื่อสารใหม่

Heinz

Image: JKR: Heinz masterbrand


การที่เราเรียนรู้จากแบรนด์ใหญ่ ๆ จะทำให้เราสามารถปรับตัวได้โดยมีความเสี่ยงน้อยลง แต่ก็มีข้อเสียเปรียบคือเราจะได้เป็นผู้ตาม บวกลบกันเเล้วก็คงไม่ได้แย่ซะทีเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของหลายธุรกิจข้างต้น คือการปรับตัวเข้าหาผู้บริโภค บวกกับตามให้ทันเทคโนโลยี เกือบทุกแบรนด์ล้วนสลัดคราบความเยอะ เหลือเพียงแก่นหลักของตัวตนธุรกิจ ผ่านการออกแบบบโลโก้ที่เน้น 2 มิติ มินิมัล ซึ่งง่ายต่อการจดจำเป็นอย่างดี และที่สำคัญทุกแบรนด์ล้วนเตรียมพร้อมกระโจมเข้าไปอยู่ในแวดวงดิจิทัล ไม่ได้จำกัดแค่พื้นที่ที่เคยอยู่อีกต่อไป 

บทความแนะนำ


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

- Williams, Grace. Rebranding in 2020 – Who’s leading the way?
- Avibeweb.com (January 27, 2021) 10 Big Brand Logo Redesigns from 2020
- Khistariya, Vidhi. (Sep 11, 2020) Top 20 famous Logo Redesigns in 2020
- Brewer, Jenny. (June, 10, 2020) Heinz gets first ever global masterbrand, served up by JKR
- M, Rob. (Mar 18, 2020) Deep Dive: A look into our new Brand Visual Identity
- Sanders, Divad. (Nov 30, 2020) The Best Rebrands of 2020
- And most logo history from 1000logos.net

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

10
September, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
10 September, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี

By

3 mins read
Thai
10
September, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
10 September, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีก Google Fonts คืออะไร? (กันแน่) หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

By

4 mins read
Thai
10
September, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
10 September, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.