hand lt
hand lt
hand lt
19Oct, 2021
Language blog :
Thai
Share blog : 
19 October, 2021
Thai

Persona มีไว้ทำไม สำคัญยังไงกับขั้นตอนการออกแบบ UX

By

1 mins read
Persona มีไว้ทำไม สำคัญยังไงกับขั้นตอนการออกแบบ UX

หนึ่งในขั้นตอนการออกแบบ User Experience (UX) มีค่อนข้างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูลก่อนเริ่มหรือหลังเริ่มงานก็ตาม ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ Research - Survey & Interviews - Customer Journey - User Flow - Sitemap - A/B Testing  Wireframe - Prototype - Usability Test และขั้นตอนที่เราจะมาอธิบายและให้ความสำคัญในบทความนี้ ก็คือ Persona หรือบุคคลสมมติ ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อให้การออกแบบหรือการสร้างผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้ตามกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่แบบทั่วไป 

แน่นอนว่าประโยชน์ของการทำ Persona ก่อนการออกแบบนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะเมื่อเรานำไปใช้งานได้อย่างถูกต้องแล้ว เครื่องมือนี้ยังสามารถช่วยให้การออกแบบตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายดียิ่งขึ้นนั่นเอง

UX User Experience Process

cr.https://www.advanguart.com/process

Persona คืออะไร

Persona คือการสร้างตัวตนสมมติของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจนั้น ๆ โดยอ้างอิงจากข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เพื่อทำความเข้าใจและรับรู้เหตุผลที่เลือกใช้บริการหรือซื้อสินค้าจากคุณมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ อาชีพ รายได้ พฤติกรรม ความรู้สึก รวมไปถึงวิธีที่จะทำให้พวกเขารู้จัก สนใจ และตัดสินใจที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ ซึ่งเราสามารถกำหนด Persona ได้มากกว่า 1 คน เพื่อให้ครอบคลุมตัวแทนของกลุ่มเป้าหมายที่อาจจะค่อนข้างหลากหลาย แตกต่างกันออกไป เพราะโดยปกติแล้ว ลูกค้าของธุรกิจไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียวเท่านั้น ทุกบุคคลสมมติที่เราได้กำหนดและสร้างขึ้นมานั้น คือตัวแทนของผู้ซื้อประเภทต่าง ๆ ที่มีประวัติความเป็นมาและนิสัยที่เฉพาะตัว จึงทำให้มีความคาดหวัง และพฤติกรรมการในการตัดสินใจซื้อขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันนั้นเอง

Persona สำคัญอย่างไร

เพื่อช่วยให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งควรจะเป็นพื้นฐานในการสร้าง Product ที่ยอดเยี่ยม และตอบโจทย์ที่สุดกับทางฝั่ง Business และ User ดังนั้น การทำ Persona จะช่วยทำให้คลายความกังวล รับรู้ถึงความเข้าใจ และแรงจูงใจของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้ทีมออกแบบค้นหาดีไซน์ที่ตอบโจทย์ได้ง่ายขึ้น คำถามที่สำคัญที่สุดคือ "เราออกแบบเพื่อใคร ลักษณะของผู้ใช้ที่เรากำลังจะออกแบบให้นั้นควรจะเป็นอย่างไร" เราจึงจะสามารถออกแบบ Product ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และประสบความสำเร็จกับสิ่งที่ทำได้ 

ดังนั้น การสร้าง Persona จึงสามารถช่วยให้นักออกแบบก้าวออกจากตัวเอง ไม่อิงจากความคิด ความรู้สึกตนเอง และจะต้องเข้าใจว่าผู้ใช้แต่ละคนก็ต่างมีความต้องการ และความคาดหวังที่แตกต่างกัน เมื่อคิดถึงความต้องการของตัวบุคคลที่เราสมมติขึ้นมา นักออกแบบจะเข้าใจได้ดีขึ้นว่าบุคคลจริง ๆ ต้องการอะไร อีกทั้งยังต้องระบุตัวตนกับผู้ใช้ที่พวกเขากำลังออกแบบ ยิ่งนักออกแบบมีส่วนร่วมกับการทำ Persona และมองว่าพวกเขาเป็น 'บุคคลจริง' มากเท่าใด เหล่านักออกแบบก็จะยิ่งมีแนวโน้มที่จะใส่ใจกับ Persona ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบ และต้องการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับกลุ่มผู้ใช้มากขึ้นเท่านั้น

 

Persona

User persona template. Image by Xtensio

องค์ประกอบในการสร้าง Persona 

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบุคคลสมมติ ที่เราจำเป็นจะต้องสร้างขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายของเรา ซึ่งหลัก ๆ ประกอบด้วย

  • ชื่อ-นามสกุล (สมมติ)
  • รูปถ่าย
  • ข้อมูลประชากร (เพศ อายุ ที่อยู่ สถานภาพสมรส ครอบครัว)
  • การศึกษา ตำแหน่งงาน
  • รายได้
  • เป้าหมายและความต้องการ
  • ความผิดหวัง ปัญหาที่พบเจอ
  • พฤติกรรม นิสัยโดยประมาณ
  • แบรนด์ที่ชื่นชอบ
  • กิจกรรมยามว่าง

แนะนำเคล็ด(ไม่)ลับในการสร้าง Persona 

คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อจริงหรือรายละเอียดของผู้เข้าร่วมการวิจัยหรือคนที่คุณรู้จัก เพราะว่าสิ่งนี้สามารถเบี่ยงเบนความเป็นจริงของบุคลิกที่สมมติขึ้นมาได้ มันจะกลายเป็นว่าคุณจะเน้นการออกแบบที่ตอบโจทย์สำหรับบุคคลนี้โดยเฉพาะ แทนที่จะเป็นกลุ่มคนที่มีลักษณะคล้ายกัน เลือกรูปที่น่าจะเหมาะกับคนที่คุณสมมติขึ้นมาด้วยล่ะ จะได้เห็นภาพเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น เมื่อรู้จัก Persona แล้วตอนนี้คุณคงรู้ว่ามันเป็น Tool อย่างหนึ่งที่ช่วยทำให้กระบวนการออกแบบไม่ซับซ้อน ช่วยชี้นำกระบวนการคิดและช่วยให้นักออกแบบบรรลุเป้าหมายในการสร้าง UX นั่นคือการสร้างประสบการณ์ที่ดีสำหรับผู้ใช้ และการออกแบบให้ผู้ใช้จริงสามารถทำงานได้อย่างตอบโจทย์มากขึ้นนั่นเอง

 

อ้างอิง:

คู่มือสร้าง User Persona ฉบับ ไม่มโน!, JibJib Saranya 
Customer Personas : ทำความรู้จักตัวตนของลูกค้าคุณ, Kanokwan Kankate
Putting Personas to Work in UX Design: What They Are and Why They’re Important, Nick Babich
Creating Personas, Eeva Ilama

Written by
Senna Labs
Senna Labs

Subscribe to follow product news, latest in technology, solutions, and updates

- More than 120,000 people/day visit to read our blogs

Other articles for you

04
December, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
4 December, 2024
UX for Psychology - Loss Aversion (ความกลัวการสูญเสีย)
หลายคนคงเคยเจอเหตุการต่างๆ บนโลกดิจิทัลที่สามารถนำพาเราไปเสียเงินหรือสมัครใช้บริการได้ง่าย ๆ ทั้งที่ไม่รู้ตัว ลองมาดูกันว่า พวกเขาเหล่านั้น ใช้วิธีหลอกล่อนักชอปอย่างเรากันอย่างไรบ้าง พื้นฐานของคนทั่วไปนั้นไม่อยากที่จะสูญเสียอะไรไป แม้แต่สิ่งที่อาจจะไม่จำเป็น เราอาจจะพบการทำการตลาดในเชิงนี้ได้บ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เราไม่รู้ตัว และอาจจะไม่จำเป็นต้องซื้อแต่โดนกระตุ้นด้วยข้อมูลที่เรารับมาแบบงง ๆ เช่น Flash sale 40% สินค้าที่มีจำนวนจำกัด นั้นจะน่าสนใจมากกว่าการเดินเจอสินค้าเดียวกันในห้างที่ลดราคา 40% เช่นเดียวกัน ข้อความบนเว็บช็อปปิ้งที่ส่งมาหาคุณว่าสินค้าที่คุณเคยสนใจกำลังลดราคาอยู่ อย่าพลาดโอกาสที่จะซื้อตอนนี้ มักกระตุ้นความต้องการซื้อของเราได้เป็นอย่างดี เพราะเรากลัวที่จะเสียโอกาสดี

By

3 mins read
Thai
04
December, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
4 December, 2024
ทำไม Google Fonts ถึงเป็นทางเลือกที่ดีในการออกแบบเว็บไซต์
แต่ก่อน เวลาที่เว็บไซต์ถูกดีไซน์ด้วยฟอนต์แปลก ๆ หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมองไม่เห็น เพราะในเครื่องของผู้ใช้งานไม่มีฟอนต์นั้น ระบบก็จะเลือกเอาฟอนต์อื่นในเครื่องขึ้นมาแสดงผล เห็นเป็นฟอนต์อื่นไป ทำให้ดีไซเนอร์ต้องแก้ปัญหาด้วยการทำรูปแล้วเอามาแปะในเว็บไซต์แทน หรือแม้ว่าจะแสดงผลตามที่ถูกออกแบบมา ความเร็วก็อาจเป็นปัญหาในการโหลดและเข้าถึง เพราะฟอนต์ถูกโหลดจากเซิร์ฟเวอร์ แต่สมัยนี้ไม่มีใครใจเย็นพอที่จะรออะไรนานๆ เพราะจากรายงานระบุว่า 40% ของคนที่เข้าเว็บไซต์ จะออกหรือปิดทันทีถ้ามีการโหลดนานกว่า 3 วินาที โดยเฉพาะนักช็อปออนไลน์เกือบครึ่งที่พร้อมจะหันหลังให้อีคอมเมิร์ซเว็บไซต์ที่โหลดช้ากว่า 2 วินาที และ 79% บอกว่ามีโอกาสที่จะไม่ใช้บริการอีก Google Fonts คืออะไร? (กันแน่) หลายคนคงรู้จัก Google Fonts แต่วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักให้มากขึ้น

By

4 mins read
Thai
04
December, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
4 December, 2024
How SennaLabs helped S&P Food transform their online e-commerce business
S&P Food’s yearly revenues were 435 mils $USD. 10% of the revenue was from online sales. The board of directors felt that online sales should account for more. The digital

By

4 mins read
English

Let’s build digital products that are
simply awesome !

We will get back to you within 24 hours!Go to contact us
Please tell us your ideas.
- Senna Labsmake it happy
Contact ball
Contact us bg 2
Contact us bg 4
Contact us bg 1
Ball leftBall rightBall leftBall right
Sennalabs gray logo28/11 Soi Ruamrudee, Lumphini, Pathumwan, Bangkok 10330+66 62 389 4599hello@sennalabs.com© 2022 Senna Labs Co., Ltd.All rights reserved.