ทำไมคุณภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือถึงมีความสำคัญ ?
ทำไมคุณภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือถึงมีความสำคัญ ?
คุณภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือมีความสำคัญมาก เนื่องจากมีผลต่อประสบการณ์ผู้ใช้และความสำเร็จของแอปพลิเคชัน การให้ความสำคัญกับความต้องการของผู้ใช้ ประสบการณ์ผู้ใช้ที่เชื่อถือได้ ความปลอดภัย และความเสถียรภาพ ทั้งนี้คุณภาพในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือควรรวมการออกแบบที่ดี การทดสอบ การประเมิน การอัปเดต และการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้แอปพลิเคชันที่มีคุณภาพสูงและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้อย่างเหมาะสม
แหล่งอ้างอิงรูป Click
ปัจจัยและสิ่งสำคัญที่จะทำให้แอปพลิเคชันมีคุณภาพ
แหล่งอ้างอิงรูป Click
1. ประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน : ในการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือนั้น หากประสิทธิภาพไม่ดี อาจจะทำให้แอปพลิเคชันใช้งานไม่ได้ จนกระทั่งไปถึงการที่ผู้ใช้งานไม่ลังเลที่จะลบแอปพลิเคชันนั้นทิ้งไป โดยปัจจัยหลัก ๆ ในเรื่องของประสิทธิภาพมีดังนี้
1.1 ความเร็ว : ความเร็วที่กล่าวถึงนี้จะอยู่ในส่วนของการเปลี่ยนหน้าจอ ความรวดเร็วในการโหลดทุกอย่าง หรือฟังก์ชันต่าง ๆ ภายในแอปพลิเคชัน เพราะหากแอปพลิเคชันของคุณใช้เวลานานกว่าปกติ หรือนานกว่าแอปพลิเคชันอื่น ๆ ผู้ใช้จะสามารถสังเกตและรู้สึกได้
1.2 การออกแบบการแสดงผลหรือในภาษาของผู้พัฒนาแอปพลิเคชันคือ User Interface (UI) : สิ่งสำคัญของ UI คือต้องไม่มีการแฮงค์ หรือปัญหาอื่น ๆ เพราะถ้าหากแอปพลิเคชันของคุณค้างระหว่างการใช้งานของผู้ใช้งานนั้น ผู้ใช้จะรู้สึกว่าแอปพลิเคชันนั้นช้าและจะเกิดอาการหงุดหงิด
1.3 เครือข่าย : ในข้อนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลให้ทั้ง 2 อย่างข้างต้นที่กล่าวมาเกิดความผิดพลาดได้ง่ายขึ้น ทางผู้พัฒนาแอปพลิเคชันต้องวางแผนการเรียกข้อมูล หรือโหลดข้อมูลผ่านเครือข่ายโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากระทบต่อการใช้งาน
2. ความเสถียรของแอปพลิเคชัน : ความเสถียรของแอปพลิเคชัน ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อขัดข้องหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้เลย แต่สิ่งสำคัญคือทำยังไงให้ความถี่ในการเกิดขึ้นนั้นน้อยที่สุดเพราะจะส่งผลต่อคุณภาพของแอปพลิเคชัน
2.1 ข้อขัดข้อง : สิ่งที่เลวร้ายที่สุดในข้อขัดข้องของแอปพลิเคชันคือการปิดตัว และออกจากแอปพลิเคชันทันที่ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผู้ใช้งานของคุณ และถ้าเกิดถี่ขึ้นมาก ๆ ก็อาจจะเป็นปัจจัยหลักในการชี้วัดว่าคุณภาพของแอปพลิเคชันของคุณมันต่ำ
2.2 ทรัพยากร : เป็นปัจจัยที่ควบคุมได้ยากในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพราะเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดข้อขัดข้องและข้อผิดพลาด เนื่องจากทรัพยากรของเครื่องผู้ใช้ ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันจึงต้องคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรมากเกินไปหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น CPU หรือ Memory ของเครื่องผู้ใช้จนกระทั่งแบตเตอรี่ สิ่งนี้จะส่งผลเสียต่อความเสถียรของแอปพลิเคชัน และจุดจบอาจจะหนีไม่พ้นการถูกลบทิ้งและไปใช้แอปพลิเคชันคู่แข่ง
3. การทดสอบ : ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญก่อนที่จะอัปโหลดแอปพลิเคชันขึ้นไปสู่ผู้ใช้งาน เราจึงต้องตรวจสอบปัญหาต่าง ๆ ก่อนที่จะเผยแพร่สู่การใช้งานจริง
3.1 การทดสอบการทำงาน : ต้องดำเนินการตรวจสอบให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชันของคุณทำงานตามที่คุณตั้งใจไว้หรือเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อที่จะทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดกับผู้ใช้งาน
3.2 การทดสอบการใช้งานในอุปกรณ์ : เนื่องจากผู้ใช้แต่ละคนใช้อุปกรณ์แตกต่างกันไป คุณต้องทดสอบหลาย ๆ อุปกรณ์ และหลาย ๆ รุ่น เพื่อให้แน่ใจว่าการพัฒนาแอปพลิเคชันของคุณนั้นทำงานได้ถูกต้องและไม่ผิดพลาดในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ตั้งใจไว้
3.3 การทดสอบประสิทธิภาพ : ปัญหาด้านประสิทธิภาพจะรบกวนประสบการณ์ของผู้ใช้และลดคุณภาพของแอปของคุณ การทดสอบประสิทธิภาพช่วยขจัดปัญหาต่าง ๆ เช่น การใช้แบตเตอรี่มากเกินไปหรือการใช้ทรัพยากรที่สูงเกินไป
4. การใช้งาน : การใช้งานแอปพลิเคชันนั้น หากผู้ใช้งานนั้นพบว่าการใช้งานแอปพลิเคชันของคุณนั้นยุ่งยาก หรือมีขั้นตอนที่รบกวนผู้ใช้งานมากจนเกินไป อาจจะทำให้คุณภาพของแอปพลิเคชันของคุณนั้นตกลงไป โดยประเด็นด้านความสามารถในการใช้งานหลักบางประการที่คุณควรให้ความสำคัญดังนี้
4.1 ประสบการณ์ของผู้ใช้ หรือ User Experience (UX) : ผู้ใช้ต้องสามารถที่จะใช้แอปพลิเคชันของคุณได้บรรลุตามเป้าหมายที่ผู้ใช้งานคาดหวัง นั้นคือแอปพลิเคชันของคุณใช้งานง่าย เรียบง่าย และเชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ที่เป็นเป้าหมายของคุณ
4.2 โฟลว์ของแอปพลิเคชัน : ทุกแอปมีฟังก์ชันหลักอย่างน้อยหนึ่งฟังก์ชัน เส้นทางที่ผู้ใช้ใช้ตั้งแต่เปิดตัวแอปไปจนถึงบรรลุวัตถุประสงค์หลักนี้เรียกว่าโฟลว์ การที่ผู้ใช้ผ่านโฟลว์การทำงานนี้ไปได้ง่ายเพียงใดเป็นการวัดคุณภาพที่สำคัญ สามารถแยกย่อยออกเป็นการตอบสนองที่รวดเร็ว ราบรื่น และง่าย
4.3 การเริ่มต้น : แอปพลิเคชันมีเวลาไม่มากในการสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้ใหม่ เป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ใช้จะได้รับการสอนอย่างง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพถึงวิธีการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการด้วยแอปพลิเคชัน สิ่งนี้เรียกว่าการนำผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากโฟลว์การเริ่มต้นใช้งานจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้ใหม่จะโต้ตอบด้วยภายในแอปพลิเคชันของคุณ จึงต้องใช้งานง่าย ทำตามได้ง่าย และมีประสิทธิภาพ อาจหมายถึงการให้ผู้ใช้นั้นใช้เวลา และความพยายามในแอปพลิเคชันของคุณเพื่อกระตุ้นความอยากใช้งาน การดำเนินการนี้จะใช้เวลาในการลองผิดลองถูก การทดสอบ และที่สำคัญที่สุดคือการรับคำติชมของผู้ใช้ครั้งแรกเพื่อช่วยเป็นแนวทางในกระบวนการตัดสินใจของคุณ
คุณภาพของแอปพลิเคชันนั้น ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันต้องทำความเข้าใจกับเป้าหมายผู้ใช้งาน และระบบโฟลว์ของแอปพลิเคชันของคุณ โดยแต่ละแอปพลิเคชันเป้าหมายของผู้ใช้จะแตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือคุณควรพัฒนาแอปพลิเคชันของคุณโดยคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก เพราะผู้ใช้งานจะเป็นผู้ตัดสินคุณภาพของแอปพลิเคชันของคุณไปจนกระทั่งแนะนำแอปพลิเคชันของคุณต่อ ๆ ไป และคุณไม่ควรละเลยขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้แอปพลิเคชันของคุณนั้นอาจจะมีคุณภาพที่ต่ำ เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว คุณจะสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันที่คุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ ทำให้คุณมั่นใจได้ในความสำเร็จของแอปพลิเคชันและความพึงพอใจของผู้ใช้งานในท้ายที่สุด
แหล่งอ้างอิง