การพัฒนา Financial Software
ในทศวรรษหน้า ภาคธุรกิจด้านการเงินคาดว่าจะเติบโตอย่างมหาศาล โดยคาดการณ์ว่าขนาดของตลาดจะก้าวกระโดดจนแตะระดับ $822 billion ภายในปี 2030 การเติบโตนี้เป็นผลมาจากหลายปัจจัยสำคัญ เช่น การเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกขึ้นจากเทคโนโลยีดิจิทัล การเติบโตของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และความต้องการผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้ธุรกิจการเงินทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร บริษัทประกันภัย และบริษัทจัดการกองทุน ล้วนมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต
Financial Software Development
ซึ่งในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการพัฒนา Financial Software กันว่ามีขั้นตอนและเครื่องมืออะไรบ้าง ก่อนอื่นเราจะมาเรียนรู้ถึงประเภทของ Software ทางการเงินต่าง ๆ ในปัจจุบันและสิ่งที่ควรคำนึงถึงและวางแผนก่อนจะเริ่มการทำ Financial Software Development
ประเภทของซอฟต์แวร์ทางการเงิน
-
Mobile banking: ระบบสำหรับธุรกิจธนาคาร เช่น K-Plus, SCB EASY, UOB TMRW, Dime
-
Investment support: ซอฟต์แวร์การซื้อขายหุ้น พันธบัตร ประเมินความเสี่ยง เช่น InnovestX, Streaming, TradingView
-
Insurance: ระบบสำหรับบริหารจัดการกรมธรรม์ ค่าเบี้ย ประกัน เช่น AIA+, Thai Life Insurance
-
Asset management: ซอฟต์แวร์วางแผนการเงิน บริหารกองทุน ลงทุน เช่น Dime, K-plus, Finnomena
-
Third party payment gateway: ระบบสำหรับโอนเงินและชำระค่าบริการอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Ascendmoney, Stripe, Paypal
-
Blockchain/ Digital currency: ซอฟต์แวร์สำหรับการพัฒนาระบบบล็อกเชน เหรียญคริปโท การซื้อขายสกุลเงินดิจิทัล เช่น BitKub, Binance
สิ่งที่ต้องพิจารณาและความท้าทาย
การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบทางการเงินนั้นมีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนมาก จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้อย่างจริงจัง
-
Security: มาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการเข้ารหัสที่เข้มงวด เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลและการละเมิดความเป็นส่วนตัว
-
Accuracy and Precision: การประมวลผลข้อมูลทางการเงินต้องมีความแม่นยำและถูกต้องสูงสุด
-
Scalable and Efficiency: ระบบต้องสามารถรองรับการทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และทนต่อ Traffic หนาแน่นได้
-
Transparent data system: จำเป็นต้องมีระบบบันทึกและตรวจสอบย้อนกลับรายการต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนเพื่อความโปร่งใส
-
ความสามารถในการ optimization: เนื่องจากความต้องการทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ระบบจึงต้องมีสถาปัตยกรรมที่ยืดหยุ่น
Development technologies and Tools for Financial Software development
ภาพนี้แสดงถึงตัวอย่างของเทคโนโลยีและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการเงินสำหรับแพลตฟอร์มเว็บและแอปพลิเคชันมือถือ ซึ่งโดยรวมแล้วจะเห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีทั้งProgramming language, Framework, Database และ Cloud service ต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการเงินในหลายแพลตฟอร์ม โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัย การวิเคราะห์ข้อมูล และการชำระเงิน อีกทั้ง ยังมีเทคโนโลยีผสมต่างๆที่นิยมใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์การเงินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่น
การทำ Cloud Computing
การนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้กับระบบการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการจัดสรรทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานให้สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัว เช่น IaaS, PaaS ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมีการนำบริการคลาวด์อื่นๆ เช่น AI/ML, Big Data, Blockchain as a Service เข้ามาเสริมศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนา
เทคโนโลยี Blockchain
เทคโนโลยีบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในวงการการเงิน เนื่องจากการกระจายข้อมูลซึ่งช่วยลดความเสี่ยง มีการนำบล็อกเชนมาใช้ในการโอนเงิน การออกตราสารและทรัพย์สินดิจิทัล การระดมทุน และระบบการเงินอื่นๆ มีการพัฒนาโปรแกรมบล็อกเชน (Blockchain Applications) โดยใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆ เช่น Solidity รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานบล็อกเชนสาธารณะหรือบล็อกเชนสำหรับองค์กร
อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการลงทุนและการเงินระดับสูงอย่างการสร้างดัชนีชี้วัดการลงทุนหรือ Expert Advisor (EA) ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลทางการเงินอย่างซับซ้อน บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการเงินเชิงปริมาณหรือ Quantitative developer จะมีบทบาทที่สำคัญในทีมผู้พัฒนาด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย
Quantitative Developer
บุคลากรที่ทำงานด้านการเงินเชิงปริมาณหรือ Quantitative Developer จะต้องมีความรู้ทั้งในด้านการเงิน คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากงานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาอัลกอริทึมการซื้อขายแบบอัตโนมัติ การกำหนดราคาสินทรัพย์ และการบริหารความเสี่ยง
ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทางการเงินระดับสูง การมีนักพัฒนาที่มีความรู้ความเข้าใจในด้านการเงินเชิงปริมาณอย่างลึกซึ้ง สามารถใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงทฤษฎีและตัวแบบให้เป็นระบบการทำงานจริง จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เนื่องจากจะทำให้สามารถสร้างซอฟต์แวร์และอัลกอริทึมการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ และสามารถปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอดได้อย่างต่อเนื่อง
แหล่งอ้างอิง